Thailand Web Stat

articles

มารู้จักกับ KYC และ CDD

มารู้จักกับ KYC และ CDD         ปัจจุบัน “ภัยก่อการร้าย” ถือเป็นภัยคุกคามที่ระบาดไปทั่วโลก หลายประเทศจึงหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ประเทศไทยของเราก็เช่นเดียวกัน ตั้งแต่ในระดับคณะรัฐมนตรีซึ่งได้มีมติให้ความเห็นชอบมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ที่เสนอโดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. และในระดับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ต้องไปออกประกาศกฎเกณฑ์ให้เหมาะสมกับประเภทธุรกรรมของสถาบันการเงินที่ตนเองกำกับดูแล ซึ่งก็รวมถึง ก.ล.ต. ในฐานะผู้กำกับดูแลการทำธุรกรรมในตลาดทุน         โดย ก.ล.ต. ได้ออกประกาศซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2550 กำหนดเกณฑ์ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (ขอเรียกรวม ๆ ว่า บล. นะครับ) ต้องมีวิธีปฏิบัติที่จะทำให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า รวมถึงคอยสอดส่องเพื่อดูว่า มีใครที่ประสงค์ไม่ดีจะมาใช้ตลาดทุนเป็นช่องทางในการฟอกเงินหรือสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายหรือไม่ ถ้าสงสัยว่ามี ก็ต้องรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยสงสัยต่อ ปปง. ทันที ซึ่งกระบวนการที่จะทำให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าก็เป็นส่วนหนึ่งของการที่ บล. ต้องทำความรู้จักกับลูกค้า (หรือ Know your Client – KYC) และการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (หรือ Client Due Diligence – CDD) นั่นเอง         จริง …

มารู้จักกับ KYC และ CDD Read More »

ทำไมค่าฟีที่นี่แพงจัง

ทำไมค่าฟีที่นี่แพงจัง         มีผู้ลงทุนมาบ่นที่ ก.ล.ต. ว่าสนใจกองทุนรวมของ บลจ. แห่งหนึ่ง แต่จด ๆ จ้อง ๆ อยู่เพราะเห็นว่า ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุนสูงมาก มากกว่า 1% อีก เลยต่อว่า ก.ล.ต. ว่าทำไมปล่อยให้คิดกันแพงขนาดนี้เทียบกับค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นแล้วไม่เห็นมากมายอะไรขนาดนี้         เรื่องค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เรียกเก็บกับผู้ถือหน่วยนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปตามหลักการเปิดเผยข้อมูล ก.ล.ต. ไม่ได้เข้าไปกำหนดขั้นต่ำหรือกำหนดเพดานไว้ เพราะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด บลจ. แต่ละแห่งจะคิดแค่ไหนก็ต้องเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทราบอย่างชัดเจน ค่าธรรมเนียมโดยทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ         1) ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมตอนขาเข้า (หรือที่เรียกว่าค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน) หรือขาขาย (เรียกว่าค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน) บางแห่งอาจมีโปรโมชัน เช่น ถ้าซื้อหน่วยลงทุนตอนทำ IPO ก็อาจยกเว้นค่าธรรมเนียมขาเข้าให้ก็ได้ หรือถ้าเป็นตอนจะขายคืนก็อาจยกเว้นสำหรับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ถือหน่วยมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง เช่น 1 ปี ก็ได้ หรือจะเป็นค่าธรรมเนียมตอนโอนหน่วยลงทุน สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน (เปลี่ยนกองภายใต้ บลจ. แห่งเดียวกัน) หรือค่าปรับถ้าขายคืนก่อนครบกำหนดเวลาที่ บลจ. …

ทำไมค่าฟีที่นี่แพงจัง Read More »