Thailand Web Stat

articles

เทียบให้ชัด Nasdaq 100 vs. S&P 500 เลือกตัวไหน?

เทียบให้ชัด Nasdaq 100 vs. S&P 500 เลือกตัวไหน!? ในแวดวงของการลงทุน เชื่อว่านักลงทุนหลายท่านย่อมรู้จักดัชนีหุ้นของฝั่งสหรัฐฯ กันมาบ้างแล้ว เนื่องจากสหรัฐฯ ถือว่าเป็นประเทศมหาอำนาจหนึ่งของโลก ดังนั้น การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลกได้  แต่ดัชนีของสหรัฐฯ ก็แยกออกเป็นหลายตัว แต่สองตัวที่ได้ยินกันบ่อยจะมี Nasdaq 100 และ S&P 500 มาพร้อมกับคำถามยอดฮิตว่าควรเก็บตัวไหนเข้าพอร์ตดี? ทุกคนสงสัยกันมั้ยว่าทั้งสองตัวเป็นดัชนีของสหรัฐฯ เหมือนกันทั้งคู่ แล้วความต่างของสองตัวนี้มันอยู่ตรงไหน? ดัชนี Nasdaq 100 เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1985 ซึ่งเป็นดัชนีที่รวมบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 100 แห่ง โดยมีทั้งบริษัทในอเมริกา รวมไปถึงบริษัทของต่างประเทศ ที่จดทะเบียนในตลาด Nasdaq และเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของหุ้นเทคโนโลยีเลยก็ว่าได้ เนื่องจากหุ้นจากบริษัท 100 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเทคโนโลยี และนวัตกรรมชั้นนำของโลกที่มีการเติบโตสูง ซึ่งดัชนี Nasdaq 100 จะไม่มีการนำบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงินเข้ามาคำนวณด้วยตัวอย่างบริษัทที่อยู่ในดัชนี Nasdaq 100 เช่น Apple (AAPL) …

เทียบให้ชัด Nasdaq 100 vs. S&P 500 เลือกตัวไหน? Read More »

กองทุนที่ว่าดี ดีจริงหรือเปล่า? ส่องกองทุนได้ทั้งตลาดไปกับ “ขนมชั้นกองทุน”

กองทุนที่ว่าดี ดีจริงหรือเปล่า? ส่องกองทุนได้ทั้งตลาดไปกับ “ขนมชั้นกองทุน” ขนมชั้นกองทุน ในปัจจุบันมีเครื่องมือหลายประเภทที่จะช่วยนักลงทุนในการตัดสินใจลงทุน แต่การเลือกใช้เครื่องมือนั้นขึ้นก็ขึ้นอยู่กับความถนัดและสไตล์การลงทุนของแต่ละคน แล้วถ้าหากเครื่องมือนั้นสามารถดูกราฟเปอร์เซ็นต์ไทล์ แสดงผลตอบแทนย้อนหลังและความเสี่ยงของกองทุนได้พร้อมกัน จะสะดวกกับนักลงทุนมากแค่ไหน WealthMagik มีเครื่องมือมาแนะนำ นั่นคือ “ขนมชั้นกองทุน” ขนมชั้นกองทุนคืออะไร คือเครื่องมือในการเปรียบเทียบว่ากองทุนนั้นดีจริงหรือไม่ เทียบผลตอบแทนทั้งตลาด โดยใช้ข้อมูลแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ ในกองทุนประเภทเดียวกันมาทำให้ดูง่ายด้วยแถบสีขนมชั้น ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือพื้นฐานให้นักลงทุนได้ตรวจสอบกองทุนของตนเองว่ามีผลตอบแทนเท่าไหร่ ความเสี่ยงของกองทุนเป็นยังไง อยู่ในระดับดีขึ้นหรือแย่ลง เมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ สามารถดูผลตอบแทนย้อนหลัง และ Standard Deviation ได้ในรูปแบบขนมชั้นกองทุน โดยด้านขวามือจะเป็นการอธิบายว่ากองทุนมีผลตอบแทนและค่า SD ทั้ง 1ปี 3ปี และสูงสุด 5 ปี ย้อนหลังอยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์ มีค่าเป็นบวกหรือติดลบ และอยู่ในช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่เท่าไหร่ ถ้ามีการเปรียบเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน ระบบจะสามารถแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่ากองทุนไหนดีที่สุดทั้งในด้านของผลตอบแทนและค่าSD กองทุนที่อยู่ในแถบสีเขียว หมายความว่า กองทุนอยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ระดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม มีผลตอบแทนดี มีความผันผวนของผลตอบแทนน้อย กองทุนที่อย่ในแถบแดง หมายความว่า กองทุนอยู่ในช่วงเปอร์เซ็นไทล์ระดับท้ายๆ ของอุตสาหกรรม มีผลตอบแทนน้อย มีความผันผวนของผลตอบแทนมาก ตัวอย่างเช่น K-WORLDX …

กองทุนที่ว่าดี ดีจริงหรือเปล่า? ส่องกองทุนได้ทั้งตลาดไปกับ “ขนมชั้นกองทุน” Read More »

อยากเลือกกองทุนให้ปัง! ต้องดูค่าธรรมเนียมกองทุนรวมให้เป็น!

อยากเลือกกองทุนให้ปัง! ต้องดูค่าธรรมเนียมกองทุนรวมให้เป็น! ค่าธรรมเนียมกองทุน กองทุนรวมหนึ่งในทางเลือกยอดฮิตสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและลงทุนได้หลายสินทรัพย์ แต่ก่อนลงทุนในกองทุนรวมสิ่งหนึ่งที่เราต้องรู้เลย นั่นก็คือ “ค่าธรรมเนียม” ของกองทุนนั้นมีอะไรบ้าง? ซึ่งค่าธรรมเนียมกองทุนรวมแบ่งออกเป็นหลายส่วน และเป็นจุดที่สามารถช่วยให้ตัดสินใจเลือกกองทุนได้ง่ายขึ้นด้วย ประเภทค่าธรรมเนียมกองทุนรวมมีอะไรบ้าง? ค่าธรรมเนียมกองทุนรวมแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง และค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน ซึ่งทั้งสองส่วนก็จะแบ่งย่อยไปอีก ค่าธรรมเนียมกองทุน ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วยลงทุนโดยตรง ค่าธรรมเนียมการขาย (Front – End Fee) เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back – End Fee) เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อผู้ลงทุนขายหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนกองทุน เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อผู้ลงทุนสับเปลี่ยนจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่ง ค่าธรรมเนียมการโอน (Transfer Fee) ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อมีการโอนสิทธิ์ในหน่วยลงทุนให้ผู้อื่น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน ค่าธรรมเนียมการขาย (Front – End Fee) เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back – End Fee) เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อผู้ลงทุนขายหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนกองทุน เป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อผู้ลงทุนสับเปลี่ยนจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่ง ค่าธรรมเนียมการโอน (Transfer …

อยากเลือกกองทุนให้ปัง! ต้องดูค่าธรรมเนียมกองทุนรวมให้เป็น! Read More »

DCA คืออะไร ต้องลงทุนแบบไหน ให้ตอบโจทย์มือใหม่เริ่มลงทุน

DCA คืออะไร ต้องลงทุนแบบไหน ให้ตอบโจทย์มือใหม่เริ่มลงทุน ลงทุน DCA อยากลงทุนแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามแบบนี้ในหัวแน่ๆ ถ้าเป็นมือใหม่ ลงทุนแล้วพลาดไปทำยังไงดีล่ะ? ซื้อกองทุนรวมตอนไหนถึงจะได้ผลตอบแทนสูงสุดกลับมา? แต่รู้หรือไม่…ยังมีกลยุทธ์การลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่ชื่อว่า DCA ที่เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ขาดประสบการณ์ และขาดความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุน อีกทั้งยังช่วยสร้างวินัยในการออมให้แก่นักลงทุนอีกด้วย DCA คืออะไร? DCA หรือ Dolla – Cost Averaging เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยด้วยเงินจำนวนที่เท่ากันเป็นงวดๆ ทยอยลงทุนเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ อาจจะเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาส ตามแต่ความสะดวกของนักลงทุน โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงราคาของสินทรัพย์ที่ลงทุนในขณะนั้น ซึ่งถ้าตอนที่เราลงทุนไปสินทรัพย์นั้นมีราคาที่ถูก ต้นทุนก็จะถูกลงไปด้วย ถือเป็นการเฉลี่ยต้นทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ทำไมการ DCA ถึงเหมาะกับนักลงทุนมือใหม่? แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนมือใหม่ยังไม่มีนั่นก็คือ “ประสบการณ์” และอาจจะขาด “ความเชี่ยวชาญ” เพราะบางคนก็เพิ่งลงทุนเป็นครั้งแรก ซึ่งในโลกของการลงทุนการลองผิดลองถูกไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี แต่ละคนอาจจะมีทักษะหรือเทคนิคทางการลงทุนที่ถนัดต่างกัน แต่การลดข้อผิดพลาดสำหรับมือใหม่ให้น้อยที่สุดก็ยังถือเป็นเรื่องดี ซึ่งการ DCA ก็ถือว่าตอบโจทย์ในเรื่องนี้ เนื่องจากการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนแบบนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงได้ และยังเป็นโอกาสในการสะสมหน่วยลงทุน เพราะการ DCA เราลงทุนอย่างต่อเนื่องในทุกสภาวะตลาด โดยที่ไม่สนว่าราคาของสินทรัพย์นั้นจะเป็นเท่าไหร่ …

DCA คืออะไร ต้องลงทุนแบบไหน ให้ตอบโจทย์มือใหม่เริ่มลงทุน Read More »

เลือกกองทุนให้ดี ดู Standard Deviation และ Sharpe Ratio ให้เป็น

เลือกกองทุนให้ดีดู Standard Deviation และ Sharpe Ratio ให้เป็น standard deviation แน่นอนว่าสิ่งที่ทุกคนให้ความสนใจในการเลือกกองทุนก็คือ ผลตอบแทน แต่การดูผลตอบแทนเพียงแค่อย่างเดียวคงไม่เพียงพอ จะต้องพิจารณาความเสี่ยงควบคู่ไปด้วย แต่ค่าความเสี่ยงกองทุนมีทั้งค่า Standard Deviation และ Sharpe Ratio ที่คนส่วนใหญ่ใช้กันบ่อย ๆ แล้วเราจะอ่านค่าและแปลความหมายยังไง WealthMagik สรุปไว้ในบทความนี้แล้ว Standard Deviation (SD) หรือที่เรียกกันว่า “ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน” แต่ถ้าในทางกองทุนรวม หมายถึง “ค่าความผันผวนของผลตอบแทน”แสดงถึงความผันผวนของผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งในทางบวกและทางลบ ถ้าหากค่า SD มีค่าน้อย แปลว่ากองทุนมีความผันผวนน้อย ผู้ลงทุนอาจจะได้ผลตอบแทนน้อย แต่มีโอกาสขาดทุนต่ำ ถ้าหากค่า SD มีค่ามาก แปลว่ากองทุนมีความผันผวนมาก ผู้ลงทุนอาจจะได้ผลตอบแทนสูง แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย (หรือเรียกได้ว่าค่า Standard Deviation (SD) ยิ่งต่ำยิ่งดี) Sharpe Ratio ผลตอบแทนของกองทุนรวมเทียบกับอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยปรับด้วยค่า SD ของกองทุนรวม หรือที่เรียกกันว่า …

เลือกกองทุนให้ดี ดู Standard Deviation และ Sharpe Ratio ให้เป็น Read More »

อ่าน Fund Fact Sheet สักนิดเพื่อเป็นทริคในการซื้อกองทุนรวม

อ่าน Fund Fact Sheet สักนิดเพื่อเป็นทริคในการซื้อกองทุนรวม Fund Fact Sheet เคยไหมอยากซื้อกองทุนแต่ไม่อยากอ่าน Fund Fact Sheet หรือคนอื่นบอกว่าดีก็เลือกซื้อโดยไม่ได้ศึกษารายละเอียดของกองทุน ด้วยข้อความและเนื้อหาใน Fund Fact Sheet ที่มีรายละเอียด 3- 5 หน้า ทำให้บางคนจับจุดสำคัญไม่ถูกหรือเลือกที่จะไม่อ่าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว Fund Fact Sheet มีรายละเอียดที่สำคัญมากมายที่นักลงทุนต้องรู้ ฉะนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดของ Fund Fact Sheet ให้เข้าใจก่อนการตัดสินใจลงทุน Fund Fact Sheet คืออะไร Fund Fact Sheet หรือที่เรียกกันว่าหนังสือชี้ชวนที่มีรายละเอียดของกองทุนรวม เพื่อให้เราได้ทำความเข้าใจ และศึกษารายละเอียดสำคัญๆ ก่อนการตัดสินใจลงทุน ในFund Fact Sheet มีทั้ง ประเภทกองทุน, นโยบายการลงทุน, ลักษณะความเสี่ยงและผลตอบแทน, ทรัพย์สินที่ลงทุน 5 อันดับแรก, ผลการดำเนินงานย้อนหลัง และ ค่าธรรมเนียม …

อ่าน Fund Fact Sheet สักนิดเพื่อเป็นทริคในการซื้อกองทุนรวม Read More »

Hedge VS Unhedged นาทีนี้! เลือกกองทุนแบบไหนดี

Hedge VS Unhedged นาทีนี้! เลือกกองทุนแบบไหนดี Hedge VS Unhedged เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมกองทุนประเภทเดียวกัน ลงทุนในกองทุนหลักเหมือนกัน ถึงให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น TGoldBullion-UH ให้ผลตอบแทนสูงกว่า TGoldBullion-H หรือปัจจัยที่ทำให้ผลตอบแทนต่างกันเกิดจากการ Hedging แล้วทำไมกองทุนที่ไม่ได้ทำการ Hedging ถึงทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดี เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น WealthMagik จะพามารู้จักกับ การ Hedging กัน การ Hedge หมายถึง กองทุนที่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน จะเจอเฉพาะในกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เน้นเรื่องกำไรที่ดีขึ้นแต่เป็นการลดผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน ตัวอย่างเช่น เราไปลงทุนในตราสารหนี้สหรัฐ เราจำเป็นต้องแลกเงินบาทเป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งพอถึงเวลาแลกกลับคืนมาเป็นเงินบาท ค่าเงินอาจจะแข็งขึ้นหรืออ่อนค่าลงก็เป็นไปได้ อาจจะกระทบต่อกำไรได้ แต่ถ้าเรา Hedging จะทำให้ลดความกังวลในเรื่องความผันผวนของค่าเงินได้ แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงกว่ากองทุนที่ไม่ได้ hedging ค่าเงิน ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3% เมื่อทำการ Hedge ในคู่สกุลเงินกับดอลลาร์สหรัฐ การ Unhedged หมายถึง กองทุนที่เปิดรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน ถ้าหากคาดการณ์สถานการณ์การลงทุนได้ถูกว่าค่าเงินบาทน่าจะอ่อนค่าลง ก็จะได้กำไร …

Hedge VS Unhedged นาทีนี้! เลือกกองทุนแบบไหนดี Read More »

เปิดโลกการลงทุน หุ้น และหุ้นกู้ ต่างกันยังไง?

เปิดโลกการลงทุน หุ้น และหุ้นกู้ ต่างกันยังไง? ตราสารหนี้ คืออะไร? ช่วงนี้สินทรัพย์มาแรงที่หลายนักวิเคราะห์พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเหมาะสำหรับลงทุนในสภาวะดอกเบี้ยสูงเช่นนี้ แน่นอนว่าต้องเป็นตราสารหนี้ หรือหุ้นกู้นั่นเอง บางคนอาจทราบดีอยู่แล้วว่าหุ้นกู้คืออะไร แต่ก็ยังมีนักลงทุนหลายท่านที่สับสนระหว่างหุ้น และหุ้นกู้ อาจด้วยทั้งสองสินทรัพย์มีชื่อที่คล้ายกัน บทความนี้เลยชวนทุกคนมาเจาะลึกความต่างระหว่าง หุ้น และหุ้นกู้ ว่าต่างกันอย่างไรบ้าง แต่ละสินทรัพย์เหมาะกับการลงทุนแบบไหน! ทำความเข้าใจหุ้น และหุ้นกู้ หุ้น หรือตราสารทุน โดยนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นจะมีสถานะเป็น “เจ้าของ” บริษัท หรือที่เรียกว่า “ผู้ถือหุ้น” ซึ่งถ้าบริษัทนั้นมีกำไร ก็หมายความว่าผู้ถือหุ้นจะได้กำไรไปด้วย แต่ในทางกลับกันถ้าบริษัทขาดทุนก็มีโอกาสที่จะขาดทุนไปด้วยเช่นกันหุ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ หุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งทั้งสองประเภทนักลงทุนจะมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทเช่นเดียวกัน แต่จะต่างกันตรงผู้ที่ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ส่วนผู้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิจะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น และได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ แต่ในกรณีที่บริษัทนั้นเลิกประกอบกิจการหรือขาดทุน ผู้ที่ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับปันผลและเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญหุ้นกู้ หรือตราสารหนี้ แบ่งออกเป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล และตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนหรือที่นักลงทุนรู้จักกันในชื่อหุ้นกู้ โดยนักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกู้จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” เนื่องจากรัฐบาล หรือบริษัทออกหุ้นกู้นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อขอกู้ยืมเงินจากประชาชน โดยจะจ่ายผลตอบแทนกลับมาในรูปแบบของดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนด และชำระคืนเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดอายุของหุ้นกู้นั่นเอง ผลตอบแทนระหว่างหุ้น และหุ้นกู้เป็นอย่างไร? นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นจะได้รับผลตอบแทนจาก 2 …

เปิดโลกการลงทุน หุ้น และหุ้นกู้ ต่างกันยังไง? Read More »

ETF การผสมผสาน(จุดเด่น)ระหว่างหุ้นและกองทุนรวม

ETF การผสมผสาน(จุดเด่น)ระหว่างหุ้นและกองทุนรวม ลงทุนปี 2567 ETF คืออะไร ETF ย่อมาจาก Exchange Traded Fund คือ กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีต่างๆ เช่น Set 50 เป็นกองทุนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์และสามารถซื้อขายได้แบบ Real Time ได้เหมือนหุ้น และมีการกระจายการลงทุนได้เหมือนกองทุนรวม เป็นการผสมผสานจุดเด่นระหว่างกองทุนรวมกับหุ้นเข้าด้วยกัน โดยส่วนใหญ่จะเน้นการลงทุนแบบ Passive เน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี ผลตอบแทนจากการลงทุน ETF ผลตอบแทนแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ผลตอบแทนจากกำไรส่วนต่างจากราคาซื้อขาย(Capital Gain) เราจะได้รับก็ต่อเมื่อเราซื้อ ETF ในราคาต่ำแต่สามารถขายได้ในราคาที่สูงกว่าตอนซื้อมา และเงินปันผล(Dividend) จากการที่เราไปลงทุนในหุ้นหรือหน่วยลงทุนที่ ETF ไปลงทุน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของETF ที่ระบุเงื่อนไขไว้ในแต่ละกองทุน ความแตกต่างระหว่าง ETF หุ้น และ กองทุนรวม ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ / ราคาซื้อขาย ETF และหุ้น มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ สามารถซื้อขาย แบบ Real …

ETF การผสมผสาน(จุดเด่น)ระหว่างหุ้นและกองทุนรวม Read More »

มองหาผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก ลองมารู้จักกับ “ตราสารหนี้”

หาผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก มาทำความรู้จักกับ “ตราสารหนี้” ตราสารหนี้ คืออะไร? ตราสารหนี้ คือ ตราสารชนิดหนึ่ง ที่ออกมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการระดมทุนจากนักลงทุน และชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดอายุของตราสารนั้น โดยที่ผู้ซื้อจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งมีทั้งหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน และพันธบัตรรัฐบาลที่ภาครัฐเป็นคนออก นักลงทุนที่ซื้อตราสารหนี้จะมีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” และผู้ที่ออกตราสารหนี้มีสถานะเป็น “ลูกหนี้” ข้อดีของตราสารหนี้ ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ นักลงทุนที่ซื้อตราสารหนี้จะสามารถคาดการณ์รายรับล่วงหน้าได้จากอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว ซึ่งโดยปกติแล้วจะคงที่และจ่ายอย่าสม่ำเสมอทุก 3 เดือน 6 เดือน ทำให้นักลงทุนสามารถวางแผนการเงินในอนาคตได้ กระจายความเสี่ยงของพอร์ต ตราสารหนี้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ และได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ จึงเป็นสินทรัพย์ที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลดความเสี่ยงของพอร์ตลง โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน หรือกระจายความเสี่ยง เนื่องจากราคาของตราสารหนี้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้ามกับราคาหุ้น รักษาเงินต้น แน่นอนว่าสำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง การรักษาเงินต้นไว้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ฝากธนาคารอย่างเดียวก็ได้ดอกเบี้ยน้อย ดังนั้น ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาล อย่างพันธบัตร หรือตั๋วเงินคลัง ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ตอบโจทย์ มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ต่ำ อีกทั้งยังได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าฝากธนาคารอีกด้วย มีการจัดอันดับตามความเสี่ยง ในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้เป็นภาคเอกชน หรือที่เรียกว่าหุ้นกู้ จะมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระ เนื่องจากแต่ละบริษัทมีผลการดำเนินงาน รวมไปถึงความสามารถในการชำระหนี้คืนต่างกัน ดังนั้น หุ้นกู้จึงจะมีหน่วยงานที่เข้ามาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งสามารถจัดอันดับได้ทั้งบริษัทที่ออกหุ้นกู้ รวมไปถึงตัวหุ้นกู้แต่ละรุ่นด้วย …

มองหาผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก ลองมารู้จักกับ “ตราสารหนี้” Read More »