Thailand Web Stat

อย่าเพิ่ง Panic กับ JKN มากเกินไป นี่อาจจะเป็นจังหวะที่น่าสนใจหรือเปล่า !?

ปัญหาที่ JKN กำลังเจออยู่ตอนนี้ เป็นเรื่องของสภาพคล่องจากการวางแผนที่ผิดพลาด
เกิดการผิดนัดชำระหุ้นกู้ รุ่น JKN239A มูลค่าเงินต้นรวมดอกเบี้ยราว 610 ล้านบาท
ซึ่งทางบริษัทก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการพิจารณาหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้สามารถชำระหนี้ส่วนนี้ได้ครบสมบูรณ์
แต่ก็ต้องยอมรับว่า เคสของหุ้นกู้ของบริษัทตัวย่อ S นั้น ค่อนข้างสะเทือนวงการอย่างมาก
ทำให้ส่งผลกระทบ ในเรื่องของการหาเงินทุนเช่นกัน
ซึ่งที่สุดแล้ว ทาง JKN ก็เลือกจ่ายเงินต้นรวมดอกเบี้ยออกมาประมาณ 156.6 ล้านบาท
โดยยอดค้างชำระอยู่ที่ 443.4 ล้านบาท

ซึ่ง WealthMagik มีข้อมูลที่สวนกระแส!! กับการร่วงหล่นของราคา JKN ตามกระแสการผิดนัดชำระที่เกิดขึ้น หากท่านใดได้เข้ามาใช้บริการ www.wealthmagik.com โดยเฉพาะในส่วนของ WCR และได้ลองกดดูของบริษัท JKN จะพบว่า WCR ของ JKN นั้น คือเลข ๓ ซึ่งถือเป็น Investment Grade และเทียบเท่ากับ Rating ระดับ A เลยทีเดียว ซึ่งหมายความว่า เป็นบริษัทที่สถานะทางการเงินแข็งแกร่ง แต่อาจจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจบ้าง เรียกง่ายๆว่า เป็นระดับที่น่าลงทุนมากทีเดียว ทีนี้เราจะให้ดูที่มาในระดับรายละเอียดก่อนจะมาเป็น WCR ได้ มาจากไหน

(อยากรู้เรื่อง WCR ให้มากขึ้น คลิ๊กไปอ่านได้ที่ https://www.wealthmagik.com/articles/wcr)

จริงๆแล้วเบื้องหลังของ WCR จะมีรายงานอีกตัวที่ชื่อว่า Indicative Credit Score Report (ICS Report) ซึ่งเป็นการประมวลผลจากงบการเงินของบริษัท ซึ่งจะคอยประมวลจากงบการเงินล่าสุดในด้านต่างๆเพื่อวิเคราะห์ระดับความน่าเชื่อถือของบริษัทนั่นเอง ซึ่งความเจ๋งของ ICS Report คือ การที่สามารถเปรียบเทียบบริษัทที่กำลังสนใจ กับ ภาพรวมของ คู่เทียบในตลาด หรือแม้แต่ในคู่เทียบที่เป็นอุตสาหกรรมเดียวกันเลย (Percentile) ซึ่งแน่นอนว่า ในช่วงเวลาใดๆ มีโอกาสที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมด้านนั้นๆอาจจะรุ่ง หรือ อาจจะร่วง ตามสถานการณ์ที่กระทบต่อภาคอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งส่งผลต่อทุกบริษัท แต่คงจะดีกว่า ถ้าสามารถหาบริษัทที่เป็นตัว Top ได้ และวันนี้เราจะแชร์ข้อมูลที่น่าสนใจให้ลองดูกัน ว่าเหตุใด WCR ถึงให้เลข ๓ กับ JKN

ในส่วนของ ICS จะเห็นว่าจากงบการเงินล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ค่าบ่งชี้คะแนนเครดิต หรือ ICS จะอยู่ที่ 15 คะแนน โดยช่วงคะแนนเครดิตเราจะให้ตั้งแต่ 1-25 ซึ่งจะมีเกณฑ์ตามนี้

ซึ่ง ICS นั้นจะพิจารณาจากค่า Ratio ทางการเงิน 6 มิติตามนี้

สิ่งที่ใช้วัดระดับความสามารถในแต่ละค่า Ratio ต้องมีการทำตัวเลขเพื่อเทียบกับรายอื่นๆด้วย เรียกได้ว่า เห็นเลยเมื่อเทียบกับตลาด หรือ อุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว

“อยู่ระดับ Top League หรือว่าท้ายตาราง”

จาก ตารางสีเขียว จะเป็นการวัดระดับกับทั้งตลาด ในขณะที่ ตารางสีม่วง จะวัดระดับกันแค่กลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเท่านั้น

ซึ่งค่า Percentile ยิ่งมาก บ่งบอกถึงความเป็นผู้นำในด้านนั้นๆนั่นเอง จะเห็นว่าค่าส่วนใหญ่นั้นอยู่สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ย และบางค่าเรียกได้ว่า Top Form เลย

นิยามของแต่ละค่า มีดังนี้
EBITDA Margin (%) : อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ (%)
ROPC (%) : อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินทุนถาวร (%)
EBITDA Interest Coverage (X) : อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่าย (เท่า)
Debt to EBITDA (X) : อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (เท่า)
FFO to Debts (%) : อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินทางการเงิน (%)
Debts to Capitalization (%) : อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุน (%)

สรุปแบบสั้นๆ จากแบบจำลอง WCR
จะได้ผลลัพธ์ว่า JKN พื้นฐานดี เนื่องจากรายได้เติบโตและกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง และอัตราส่วนทางการเงินดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ส่วนการผิดนัดชำระหนี้มาจากการขาดสภาพคล่องในระยะสั้นเนื่องจากนำเงินไปขยายธุรกิจ (ทั้งนี้นักลงทุนควรหาข้อมูลในรายละเอียดประกอบ เพื่อพิจารณาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น)

ใน Step ถัดไป ของวิกฤตที่ JKN กำลังเจออยู่นั้น ก็ยังคงต้องคอยติดตามกันอย่างใกล้ชิด
เริ่มจากการดูแผนรับมือของทาง JKN ที่จะออกมาตกลงกับ ผู้ถือหุ้นกู้ กับหุ้นกู้ตัวปัจจุบันที่พึ่งประสบปัญหา และต้องตามต่อในหุ้นกู้ตัวต่อๆไป ที่กำลังจะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามมา ว่าจะสามารถจัดการได้หรือไม่ หรือ มีแผนการอย่างไร หากตัวเลขจากงบการเงินนั้น เป็นตัวเลขที่ถูกต้องสมบูรณ์ เราคาดหวังว่าทาง JKN จะรอดพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างสวยงาม

ทีมงาน WealthMagik ขอเป็นกำลังใจให้ทั้ง JKN และ ผู้ถือหุ้นกู้ทุกท่าน ให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้ดีทั้งสองฝ่ายนะครับ

สำหรับนักลงทุน โดยเฉพาะใน หุ้นกู้ ขอนำเสนอให้ใช้บริการ WCR ให้ท่านได้รู้ระดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกหุ้นกู้ และในส่วนระบบนั้นยังมีเรื่องของการ Alert แจ้งเตือนเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นๆด้วย

สำหรับผู้ออกตราสารหนี้ (Issuer) ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ช่วยให้ทราบสถานะทางการเงินของบริษัท ก่อนออกตราสารหนี้ สามารถประเมินตัวเอง (Self Evaluation) ก่อนเข้าไปที่สถาบันจัดอันดับเครดิตที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และ ใช้เวลานานกว่ามาก

ข้อมูลทั้งหมดนี้ถูกประมวลผลจากงบการเงินที่เชื่อว่าถูกต้องและเชื่อถือได้ และอยู่ในสถานการณ์ปกติ
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นเท่านั้น ไม่ใช่การแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด
(*เป็นการประมวลผลจากงบการเงินล่าสุดที่อัพเดทเมื่อ 30 มิถุนายน 2566)