Thailand Web Stat

articles

ค่าใช้จ่ายการลงทุนในกองทุนรวม สิ่งที่ต้องรู้และให้ความสำคัญ

ค่าใช้จ่ายการลงทุนในกองทุนรวม สิ่งที่ต้องรู้และให้ความสำคัญ         หลายท่านคงเคยลงทุนในกองทุนรวมและศึกษากันมาบ้างแล้วว่าการลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หรือบางท่านอาจจะรู้มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป หรืออาจไม่แน่ใจว่ามีค่าใช้จ่ายอะไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุนในกองทุนรวมกัน แต่ก่อนอื่นผมอยากให้คุณรู้ว่าควรให้ความสำคัญให้มากกับเรื่องของค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพราะจะเป็นต้นทุนของตัวผู้ลงทุนเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนสุทธิ(ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่าย)ของผู้ลงทุน โดยจะทำให้ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับจริงน้อยกว่าผลตอบแทนที่กองทุนรวมทำได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องรู้และให้ความสำคัญในเรื่องค่าใช้จ่าย โดยแนะนำให้ศึกษารายละเอียดของต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแต่ละกองทุน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อกองทุนรวมใดๆ                         การหาข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการลงทุนในกองทุนรวมนั้น หาได้ไม่ยากเพียงผู้ลงทุนศึกษาโดยเปิดหนังสือชี้ชวนของแต่ละกองทุนในส่วนสรุปข้อมูลสำคัญก็จะพบข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต.ให้ทางกองทุนเปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ในส่วนนี้ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวม แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุนโดยตรง                           ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในส่วนนี้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขาย โอนเปลี่ยนมือ หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน หรือค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน ซึ่งในบางช่วงบริษัทจัดการอาจจะยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้ง 2 รายการนี้ให้กับผู้ที่ต้องการลงทุน ตัวอย่างเช่น ในช่วงการออกและเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ลงทุนมาซื้อหน่วยลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนหน่วยลงทุนให้กับคนอื่น ค่าธรรมเนียมในการออกใบหน่วยลงทุนใหม่ ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนกองทุน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนต้องการเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุนรวมหนึ่งไปยังอีกกองทุนรวมหนึ่งภายใต้การจัดการของ บริษัทจัดการเดียวกัน                           …

ค่าใช้จ่ายการลงทุนในกองทุนรวม สิ่งที่ต้องรู้และให้ความสำคัญ Read More »

” “Information Ratio” เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน”

“Information Ratio” เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน เมื่อสัปดาห์ก่อนเราคุยกันไปแล้วกับวิธีการหนึ่งในการวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted return) คือ Sharpe’ Ratio ซึ่งคำนวณได้ไม่ยาก และทำความเข้าใจได้ง่ายๆ โดย Sharpe’ Ratio เป็นการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยง 1 หน่วย  ยิ่งค่า Sharpe’s Ratio ที่ได้มีค่าสูง (ค่ายิ่งสูงยิ่งดี)  จะหมายถึงการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนดีกว่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง 1 หน่วย สำหรับสัปดาห์นี้เรามารู้กันมากขึ้นอีกนิดกับอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยเราในการตัดสินใจลงทุน “Information Ratio”                 Information Ratio (Info Ratio หรือ IR) เป็นวิธีการหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถของกองทุนในการสร้างผลตอบแทน (Return) ที่เหนือกว่าเกณฑ์อ้างอิงผลการดำเนินงาน (Benchmark) ที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Standard Deviation) โดยการหาค่า Information Ratio นั้นมีหลักคิดไม่แตกต่างจาก Sharpe’s Ratio แต่อาจซับซ้อนกว่าเล็กน้อย (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aimc.or.th) แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะโดยหลักคิดแล้วเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ คือ  …

” “Information Ratio” เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน” Read More »

ก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม

ก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม สิ่งต้องทำก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม         1. จัดสรรเงินลงทุน         2. ตรวจสอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้         3. ศึกษาข้อมูลจาก ข้อมูลรายกองทุน (Mutual Fund Profile) ข้อมูลหนังสือชี้ชวน รายงานประจำงวด 6 เดือน และรายงานประจำงวด 1 ปี (MRAP) ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างกองทุนหลายกองทุน (MFIS)         4. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจาก web site ของบริษัทจัดการ         5. ติดต่อรับฟังคำแนะนำจากผู้ทำหน้าที่ขายหน่วยลงทุน (IP)         6. ประมวลข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับมา ตรวจสอบกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายการลงทุน ระยะเวลาที่จะลงทุน ข้อจำกัดของการลงทุนของตนเอง และผลตอบแทนที่คาดหวังไว้อีกครั้งหนึ่งก่อนตัดสินใจลงทุน

รายชื่อกองทุนรวมและบลจ.

รายชื่อกองทุนรวมและบลจ. กองทุนรวมแบ่งตามนโยบายการลงทุน 10 แบบมาตรฐาน           1. กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (Equity fund)         2. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (General fixed income fund)         3. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว (Long-term fixed income fund)         4. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น (Short-term fixed income fund)         5. กองทุนรวมผสม (Balanced fund)         6. กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible portfolio fund)         7. กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of funds)         8. กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant funds)         9. กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector fund)         10.กองทุนรวมตลาดเงิน (Money market fund) กองทุนรวมประเภทอื่น ๆ …

รายชื่อกองทุนรวมและบลจ. Read More »

การจัดสรรเงินเหลือใช้

การจัดสรรเงินเหลือใช้ เมื่อเรารู้จำนวนเงินเหลือใช้ในแต่ละเดือนแล้ว (สมมุติ 2,000 บาท) และตั้งใจจะสะสมเงินนั้นอย่างมีวินัยต่อเนื่องทุกเดือนจนกระทั่งได้ยอดเงินสะสมรวมตามที่วางเป้าหมายไว้ (สมมุติ 500,000 บาท) เราคงต้องการทราบว่า เราจะใช้เวลาในการทยอยสะสมนานเพียงใด ? หัวใจของความสำเร็จก็จะอยู่ตรงที่ ระยะเวลาที่เราวางแผนจะใช้เงินสะสมนั้น กับจำนวนเงินสะสมที่จะใช้ ซึ่งจะเป็นโจทย์ตั้งให้เราต้องค้นหาทางเลือกที่จะใช้สะสมเงินนั้น โดยคาดหวังว่า ผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงของวิธีการสะสมดังกล่าว จะมีโอกาสทำให้เงินสะสมพอกพูนขึ้นได้เท่ากับเงินสะสมเป้าหมายภายในกำหนดเวลา ที่วางแผนไว้ได้อย่างเหมาะเจาะ ดังตัวอย่าง อัตราผลตอบแทน (ทบต้นปีละครั้ง) ระยะเวลาที่ใช้สะสม (โดยประมาณ) 1 % 13   ปี   11  เดือน 2 % 11   ปี   9    เดือน 3 % 9   ปี   1   เดือน 4 % 8   ปี   0   เดือน 5 % 7   ปี   3   เดือน 8 % 5   ปี   6   เดือน 10 % 5   ปี   1   เดือน 15 % 4    ปี   2   เดือน จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสะสมเงินทุกเดือน ๆ …

การจัดสรรเงินเหลือใช้ Read More »

การออมกับการลงทุน

การออมกับการลงทุน เมื่อเรามีเงินเหลือใช้เป็นประจำทุกเดือน สิ่งที่เราควรคำนึงถึง คือ เราจะจัดการกับเงินเหลือใช้นั้นอย่างเหมาะสมได้อย่างไร เพื่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปเรามักจะเก็บในรูปเงินสด หรือฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน ซึ่งเราจะเรียกวิธีการนี้ว่า “การออม” หรือถ้าใช้วิธีการซื้อทองรูปพรรณ ทองแท่ง หรือที่ดินเก็บไว้ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หุ้น หรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็จะเข้าลักษณะที่เรียกว่า “การลงทุน” คือ การเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งการออมส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของเงินฝากกับธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน โดยได้รับดอกเบี้ยเป็น ผลตอบแทน คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น การเปรียบเทียบระหว่างการออมและการลงทุน การออม การลงทุน วัตถุประสงค์ เป็นการสะสมเงินเพื่อให้พอกพูนในระยะสั้น เผื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เป็นการสะสมเงินให้งอกเงยต่อเนื่องในระยะยาว วิธีการสะสม เงินฝากธนาคาร และบริษัทเงินทุน ลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น กองทุนรวมกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่ำ(เนื่องจากรัฐบาลค้ำประกันเงินฝากทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวน) มีความเสี่ยงมากน้อยตามประเภทและลักษณะของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ในปัจจุบันถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าการฝากเงิน ผลตอบแทน …

การออมกับการลงทุน Read More »