Thailand Web Stat

Author name: WealthMagik

การจัดสรรเงินเหลือใช้

การจัดสรรเงินเหลือใช้ เมื่อเรารู้จำนวนเงินเหลือใช้ในแต่ละเดือนแล้ว (สมมุติ 2,000 บาท) และตั้งใจจะสะสมเงินนั้นอย่างมีวินัยต่อเนื่องทุกเดือนจนกระทั่งได้ยอดเงินสะสมรวมตามที่วางเป้าหมายไว้ (สมมุติ 500,000 บาท) เราคงต้องการทราบว่า เราจะใช้เวลาในการทยอยสะสมนานเพียงใด ? หัวใจของความสำเร็จก็จะอยู่ตรงที่ ระยะเวลาที่เราวางแผนจะใช้เงินสะสมนั้น กับจำนวนเงินสะสมที่จะใช้ ซึ่งจะเป็นโจทย์ตั้งให้เราต้องค้นหาทางเลือกที่จะใช้สะสมเงินนั้น โดยคาดหวังว่า ผลตอบแทนภายใต้ความเสี่ยงของวิธีการสะสมดังกล่าว จะมีโอกาสทำให้เงินสะสมพอกพูนขึ้นได้เท่ากับเงินสะสมเป้าหมายภายในกำหนดเวลา ที่วางแผนไว้ได้อย่างเหมาะเจาะ ดังตัวอย่าง อัตราผลตอบแทน (ทบต้นปีละครั้ง) ระยะเวลาที่ใช้สะสม (โดยประมาณ) 1 % 13   ปี   11  เดือน 2 % 11   ปี   9    เดือน 3 % 9   ปี   1   เดือน 4 % 8   ปี   0   เดือน 5 % 7   ปี   3   เดือน 8 % 5   ปี   6   เดือน 10 % 5   ปี   1   เดือน 15 % 4    ปี   2   เดือน จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า ถ้าเราสะสมเงินทุกเดือน ๆ …

การจัดสรรเงินเหลือใช้ Read More »

การออมกับการลงทุน

การออมกับการลงทุน เมื่อเรามีเงินเหลือใช้เป็นประจำทุกเดือน สิ่งที่เราควรคำนึงถึง คือ เราจะจัดการกับเงินเหลือใช้นั้นอย่างเหมาะสมได้อย่างไร เพื่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปเรามักจะเก็บในรูปเงินสด หรือฝากธนาคาร บริษัทเงินทุน ซึ่งเราจะเรียกวิธีการนี้ว่า “การออม” หรือถ้าใช้วิธีการซื้อทองรูปพรรณ ทองแท่ง หรือที่ดินเก็บไว้ ซื้อพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หุ้น หรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ก็จะเข้าลักษณะที่เรียกว่า “การลงทุน” คือ การเก็บสะสมเงินทีละเล็กทีละน้อยให้พอกพูนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งการออมส่วนใหญ่มักจะอยู่ในรูปของเงินฝากกับธนาคาร หรือบริษัทเงินทุน โดยได้รับดอกเบี้ยเป็น ผลตอบแทน คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น การเปรียบเทียบระหว่างการออมและการลงทุน การออม การลงทุน วัตถุประสงค์ เป็นการสะสมเงินเพื่อให้พอกพูนในระยะสั้น เผื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เป็นการสะสมเงินให้งอกเงยต่อเนื่องในระยะยาว วิธีการสะสม เงินฝากธนาคาร และบริษัทเงินทุน ลงทุนในพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น กองทุนรวมกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ความเสี่ยง ความเสี่ยงต่ำ(เนื่องจากรัฐบาลค้ำประกันเงินฝากทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวน) มีความเสี่ยงมากน้อยตามประเภทและลักษณะของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ในปัจจุบันถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าการฝากเงิน ผลตอบแทน …

การออมกับการลงทุน Read More »