Thailand Web Stat

Author name: WealthMagik

เหตุผลอะไร? ที่เราควรลงทุนในกองทุนรวม

เหตุผลอะไร? ที่เราควรลงทุนในกองทุนรวม         สำหรับผู้ลงทุนที่เริ่มลงทุนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วกับการลงทุนในกองทุนรวม แล้วมีเหตุผลอะไรที่เราควรลงทุนในกองทุนรวมในเมื่อการลงทุนมีรูปแบบให้เราเลือกตั้งมากมายไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นเพื่อหวังเงินปันผลและ/หรือกำไรจากการขายหุ้น หรือการซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนเพราะเห็นว่าให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากธนาคาร หรือหากมีเงินเป็นก้อนใหญ่ก็อาจทำธุรกิจโรงแรม หอพักให้เช่า เป็นต้น คุณอยากรู้ไหมว่ามีเหตุผลอะไร?             หากคุณไม่มีเวลาติดตามข่าวสารทางการเงินอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเหมือนคนที่ทำงานในวงการการลงทุน หากคุณไม่มีความรู้ความชำนาญในการลงทุนดีพอและคิดว่าการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเองอาจเกิดข้อผิดพลาด หรือหากคุณไม่รู้ว่ามีช่องทางในการลงทุนอะไรบ้างและจะลงทุนอย่างไร การลงทุนในกองทุนรวมจะช่วยลดปัญหาในเรื่องดังกล่าวให้คุณได้ เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้นจะมีบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งรวมถึงมีทีมงานที่มีความรู้ความชำนาญในการลงทุน ทำหน้าที่ติดตามข่าวสาร และตัดสินใจลงทุนแทนคุณ ในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น หุ้น พันธบัตร ตั๋วเงิน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ตามนโยบายการลงทุนที่คุณได้เลือกลงทุนในตอนแรก ตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนของกองทุนประเภทต่างๆ และเมื่อกองทุนมีกำไรจากการลงทุนก็จะมีการจ่ายเงินปันผลให้กับคุณที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นๆ ด้วย (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของแต่ละกองทุนซึ่งคุณควรให้ความสำคัญในจุดนี้)                   หากคุณมีเงินจำนวนจำกัด หากคุณต้องการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆ ให้มีความหลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนกระจุกตัวในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด หากคุณต้องการลดต้นทุนที่อาจสูงเกินไปจากการที่คุณต้องลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆ ด้วยตนเอง การลงทุนในกองทุนรวมจะช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องดังกล่าวให้คุณได้ เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมเป็นการระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยหลายๆ ราย ทำให้เงินที่แต่ละคนนำมารวมกันมีจำนวนมากพอ โดยกองทุนก็จะนำเงินที่ระดมทุนได้มานั้น ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งคุณสามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมตามความต้อง                    หากคุณอยากมั่นใจว่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินที่คุณลงทุนไปนั้น มิได้หายไปไหน (จากการกระทำที่ทุจริต) หากคุณต้องการความมั่นใจในการลงทุนว่าจะมีการลงทุนรูปแบบไหนที่มีระบบงานรองรับที่โปร่งใสและเชื่อถือได้ การลงทุนในกองทุนรวมจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนให้กับคุณได้ เนื่องจากกองทุนรวมนั้นจะมีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคุณที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ในการรักษาผลประโยชน์ต่างๆ เช่น การดูแลตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือการสอบทานความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม …

เหตุผลอะไร? ที่เราควรลงทุนในกองทุนรวม Read More »

ค่าใช้จ่ายการลงทุนในกองทุนรวม สิ่งที่ต้องรู้และให้ความสำคัญ

ค่าใช้จ่ายการลงทุนในกองทุนรวม สิ่งที่ต้องรู้และให้ความสำคัญ         หลายท่านคงเคยลงทุนในกองทุนรวมและศึกษากันมาบ้างแล้วว่าการลงทุนในกองทุนรวมนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หรือบางท่านอาจจะรู้มากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป หรืออาจไม่แน่ใจว่ามีค่าใช้จ่ายอะไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุนในกองทุนรวมกัน แต่ก่อนอื่นผมอยากให้คุณรู้ว่าควรให้ความสำคัญให้มากกับเรื่องของค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพราะจะเป็นต้นทุนของตัวผู้ลงทุนเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนสุทธิ(ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่าย)ของผู้ลงทุน โดยจะทำให้ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับจริงน้อยกว่าผลตอบแทนที่กองทุนรวมทำได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องรู้และให้ความสำคัญในเรื่องค่าใช้จ่าย โดยแนะนำให้ศึกษารายละเอียดของต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแต่ละกองทุน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันก่อนที่จะตัดสินใจซื้อกองทุนรวมใดๆ                         การหาข้อมูลต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการลงทุนในกองทุนรวมนั้น หาได้ไม่ยากเพียงผู้ลงทุนศึกษาโดยเปิดหนังสือชี้ชวนของแต่ละกองทุนในส่วนสรุปข้อมูลสำคัญก็จะพบข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต.ให้ทางกองทุนเปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ในส่วนนี้ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวม แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากผู้ลงทุนโดยตรง                           ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในส่วนนี้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขาย โอนเปลี่ยนมือ หรือเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในกองทุน เช่น ค่าธรรมเนียมการซื้อหน่วยลงทุน หรือค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน ซึ่งในบางช่วงบริษัทจัดการอาจจะยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้ง 2 รายการนี้ให้กับผู้ที่ต้องการลงทุน ตัวอย่างเช่น ในช่วงการออกและเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ลงทุนมาซื้อหน่วยลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนหน่วยลงทุนให้กับคนอื่น ค่าธรรมเนียมในการออกใบหน่วยลงทุนใหม่ ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนกองทุน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนต้องการเปลี่ยนการลงทุนจากกองทุนรวมหนึ่งไปยังอีกกองทุนรวมหนึ่งภายใต้การจัดการของ บริษัทจัดการเดียวกัน                           …

ค่าใช้จ่ายการลงทุนในกองทุนรวม สิ่งที่ต้องรู้และให้ความสำคัญ Read More »

” “Information Ratio” เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน”

“Information Ratio” เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน เมื่อสัปดาห์ก่อนเราคุยกันไปแล้วกับวิธีการหนึ่งในการวัดอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อเทียบกับความเสี่ยง (risk-adjusted return) คือ Sharpe’ Ratio ซึ่งคำนวณได้ไม่ยาก และทำความเข้าใจได้ง่ายๆ โดย Sharpe’ Ratio เป็นการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนกับความเสี่ยง 1 หน่วย  ยิ่งค่า Sharpe’s Ratio ที่ได้มีค่าสูง (ค่ายิ่งสูงยิ่งดี)  จะหมายถึงการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนดีกว่าเมื่อเทียบกับความเสี่ยง 1 หน่วย สำหรับสัปดาห์นี้เรามารู้กันมากขึ้นอีกนิดกับอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยเราในการตัดสินใจลงทุน “Information Ratio”                 Information Ratio (Info Ratio หรือ IR) เป็นวิธีการหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถของกองทุนในการสร้างผลตอบแทน (Return) ที่เหนือกว่าเกณฑ์อ้างอิงผลการดำเนินงาน (Benchmark) ที่ปรับด้วยความเสี่ยง (Standard Deviation) โดยการหาค่า Information Ratio นั้นมีหลักคิดไม่แตกต่างจาก Sharpe’s Ratio แต่อาจซับซ้อนกว่าเล็กน้อย (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aimc.or.th) แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะโดยหลักคิดแล้วเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ คือ  …

” “Information Ratio” เครื่องมือช่วยตัดสินใจลงทุน” Read More »

ก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม

ก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม สิ่งต้องทำก่อนตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวม         1. จัดสรรเงินลงทุน         2. ตรวจสอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้         3. ศึกษาข้อมูลจาก ข้อมูลรายกองทุน (Mutual Fund Profile) ข้อมูลหนังสือชี้ชวน รายงานประจำงวด 6 เดือน และรายงานประจำงวด 1 ปี (MRAP) ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างกองทุนหลายกองทุน (MFIS)         4. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจาก web site ของบริษัทจัดการ         5. ติดต่อรับฟังคำแนะนำจากผู้ทำหน้าที่ขายหน่วยลงทุน (IP)         6. ประมวลข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับมา ตรวจสอบกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายการลงทุน ระยะเวลาที่จะลงทุน ข้อจำกัดของการลงทุนของตนเอง และผลตอบแทนที่คาดหวังไว้อีกครั้งหนึ่งก่อนตัดสินใจลงทุน

รายชื่อกองทุนรวมและบลจ.

รายชื่อกองทุนรวมและบลจ. กองทุนรวมแบ่งตามนโยบายการลงทุน 10 แบบมาตรฐาน           1. กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (Equity fund)         2. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (General fixed income fund)         3. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะยาว (Long-term fixed income fund)         4. กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้น (Short-term fixed income fund)         5. กองทุนรวมผสม (Balanced fund)         6. กองทุนรวมผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible portfolio fund)         7. กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of funds)         8. กองทุนรวมใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant funds)         9. กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ (Sector fund)         10.กองทุนรวมตลาดเงิน (Money market fund) กองทุนรวมประเภทอื่น ๆ …

รายชื่อกองทุนรวมและบลจ. Read More »