Thailand Web Stat

LTF ครบกำหนดแล้ว อยากลงทุนต่อ เลือกกองทุนไหนดีนะ?

หลังจากที่ LTF (Long-Term Equity Fund) ครบกำหนด 7 ปีแล้ว ทำให้หลายคนเกิดความลังเลว่าเงินที่ได้จากการขาย LTF นั้นควรนำไปลงทุนในกองทุนไหนดี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่ตนคาดหวังไว้ จึงขอแนะนำกองทุนรวมผลตอบแทนเด่นจากเครื่องมือ Top return ของทาง WealthMagik เพื่อช่วยให้การตัดสินใจของคุณง่ายขึ้น

กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)

หากยังไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจนหรือยังไม่สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับเงินที่ได้จากการขาย LTF หลังจากที่ครบกำหนด การลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการพักเงินในช่วงที่ตลาดการลงทุนมีความผันผวน เพราะเป็นการลงทุนระยะสั้นโดยที่ไม่ต้องสูญเสียเงินต้น และยังได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ ราคาหน่วยลงทุนไม่ค่อยผันผวนมากเมื่อเทียบกับกองทุนรวมประเภทอื่นๆ  มีความเสี่ยงต่ำ แต่สภาพคล่องสูง

กองทุนแนะนำ

1. T-CASH กองทุนเปิดธนชาตบริหารเงิน

ความเสี่ยง : 1

2. KKP MP กองทุนเปิดเคเคพี มันนี่ โพสิทีฟ ชนิดทั่วไป

ความเสี่ยง : 1

3. LHMM-A กองทุนเปิด แอล เอช ตลาดเงิน ชนิดสะสมมูลค่า

ความเสี่ยง : 2

กองทุน SSF (Super Saving Funds)

สำหรับผู้ที่ยังมีรายได้และต้องเสียภาษีต่อแนะนำให้นำเงินมาลงทุนในกองทุน SSF (Super Saving Funds) เป็นกองทุนที่สามารถเลือกลงทุนได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยที่ไม่กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อ และไม่จำเป็นต้องลงทุนทุกปี  เมื่อลงทุนแล้วต้องถือครองระยะยาวอย่างน้อย 10 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี และอายุน้อยกว่า 45 ปี แนะนำให้ลงทุนในกองทุน SSF เพราะจะได้ประโยชน์สูงสุด

กองทุนแนะนำ

  • รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ

1. KKP ACT FIXED-SSFกองทุนเปิดเคเคพี แอ็กทิฟ ฟิกซ์ อินคัม ชนิดเพื่อการออม

ความเสี่ยง : 4
  • รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง

2. MTF-SSF กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไทยเฟล็กซิเบิล เพื่อการออม ชนิดเพื่อการออม

ความเสี่ยง : 5
  • รับความเสี่ยงได้สูงมาก

3. SCBGOLDH-SSF กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ THB เฮดจ์ (ชนิดเพื่อการออม)

ความเสี่ยง : 8

กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)

ในส่วนของกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) เป็นกองทุนที่สามารถเลือกลงทุนได้ในสินทรัพย์หลายประเภท ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ ซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี อายุมากกว่า 45 ปี แนะนำให้ลงทุนในกองทุน RMF ถือหน่วยลงทุนสั้นกว่า SSF เพราะเมื่อลงทุนแล้วต้องลงทุนต่อเนื่องจนถึงอายุ 55 ปี หรือลงทุนอย่างน้อย 5 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีและต้องการเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายเมื่อเกษียณ

กองทุนแนะนำ

  • รับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ

1. KKP INRMF กองทุนเปิดเคเคพี อินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ ชนิดทั่วไป

ความเสี่ยง : 4
  • รับความเสี่ยงได้สูง

2. LHFLRMF กองทุนเปิด แอล เอช เฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ

ความเสี่ยง : 6
  • รับความเสี่ยงได้สูงมาก

3. TGoldRMF-UH กองทุนเปิดธนชาตทองคำแท่งเพื่อการเลี้ยงชีพ-UH

ความเสี่ยง : 8
นอกจาก SSF และ RMF แล้ว ใครที่สนใจการลงทุนอย่างยั่งยืน และคำนึงถึงความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อมแนะนำ กองทุน Thai ESG (Thailand ESG Fund) ซึ่งปัจจุบันเป็นเทรนด์การลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกเพราะธุรกิจที่มี ESG ต้องคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment),  สังคม(Social)  และธรรมาภิบาล (Governance) เป็นกองทุนไทยที่สนับสนุนการออมระยะยาว และยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

กองทุน FIF (Foreign Investment Fund)

แต่สำหรับใครที่ชอบการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ หรือต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ กองทุนFIF (Foreign Investment Fund)   เป็นกองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 80% เช่น ตราสารหนี้ หุ้น ทองคำ น้ำมัน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน แต่การลงทุน FIF มีความซับซ้อนมากกว่าการลงทุนกองทุนในประเทศ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุน

กองทุนแนะนำ

1. DAOL-TRBOND-Aกองทุนเปิด ดาโอ โทเทิล รีเทิร์น บอนด์

ความเสี่ยง : 4

2. KWI INDIA-Aกองทุนเปิด เคดับบลิวไอ อินเดีย อิควิตี้ เอฟไอเอฟ ชนิดสะสมมูลค่า

ความเสี่ยง : 6

3. I-10 กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทน

ความเสี่ยง : 8

กองทุนหุ้นขนาดเล็ก (Small cap)

หุ้นขนาดเล็ก (Small cap) เป็นหุ้นที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน และมีโอกาสการเติบโตของกำไรสูง แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าหุ้นขนาดเล็กมีความเสี่ยงสูง และผันผวนมากกว่าเมื่อเทียบกับหุ้นใหญ่ จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับคนที่พร้อมรับความผันผวน และความเสี่ยงได้สูง

กองทุนแนะนำ

1. KWI ASIAN SM กองทุนเปิด เคดับบลิวไอ เอเชียน สมอลแคป อิควิตี้ เอฟไอเอฟ

ความเสี่ยง : 6

2. KF-JPSCAPD กองทุนเปิดกรุงศรีเจแปนสมอลแคปอิควิตี้ปันผล

ความเสี่ยง : 6

3. SCBRS2000(A) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นยูเอสสมอลแคปพาสซีฟ (ชนิดสะสมมูลค่า)

ความเสี่ยง : 6

กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)

สำหรับใครที่อยากลงทุนแต่ไม่อยากเสี่ยงมากนักแนะนำกองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) ส่วนมากจะลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่าง ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ, หุ้นกู้, ตั๋วเงินคลัง เป็นต้น  เพราะกองทุนตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอถึงแม้ราคาจะมีความผันผวนขึ้นลงตามสภาวะตลาดก็ตาม จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับปลานกลางค่อนข้างต่ำ

กองทุนแนะนำ

  • ตราสารหนี้ระยะสั้น

1. KKP S-PLUS กองทุนเปิดเคเคพี สมาร์ท พลัส ชนิดทั่วไป

ความเสี่ยง : 4
  • ตราสารหนี้ระยะกลาง

2. SMART-PLUS กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี สมาร์ท ฟิกซ์ อินคัม พลัส

ความเสี่ยง : 4
  • ตราสารหนี้ระยะยาว

3. PBOND กองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้ไทย

ความเสี่ยง : 4

จะเห็นได้ว่า เราสามารถนำเงินที่ได้จากการขาย LTF ไปลงทุนในกองทุนที่ตรงกับเป้าหมายการลงทุนของเราได้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ทำให้มีโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงกว่าการเก็บเงินไว้เฉยๆ  แต่ก็อาจจะมีความเสี่ยงบ้าง อยู่ที่ว่าเราสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน ต้องคำนึงถึงทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับตนเองด้วย

“…. ข้อมูลจัดอันดับ ณ วันที่ 31/12/2566 ….”

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

โทร 02 – 437 – 1588

Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่ 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

โทร 02 – 437 – 1588

Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่