Thailand Web Stat

SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 12 มีนาคม 2567

🟣Morning Update by SCBAM

📊 Major Equity Indices: S&P500-0.11%, NASDAQ-0.41%, STOXX600-0.35%, Nikkei225-2.19%, HSCEI+1.63%, CSI300+1.25%, KOSPI-0.77%, NIFTY-0.72%, SET-0.45%, VNINDEX-0.95%, TH Reits+0.29%, SG Reits-0.35%

📊 Sector Return: Materials-XLB(+1.13%), Energy-XLE(+1.03%), Consumer Staples-XLP(+0.55%), Communication Services-XLC(-0.19%), Technology-XLK(-0.27%), Real Estate-XLRE(-0.50%) 

📊 USBY2Y 4.54%, USBY10Y 4.10%, WTI $77.93/bbl, Gold $2,182.75/oz, DXY 102.85

📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลดลง นำโดยกลุ่มเทคโนโลยี โดยนักลงทุนขายทำกำไรหลังดัชนีปรับขึ้นมาทำจุดสูงสุดใหม่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อลดความเสี่ยงก่อนการรายงานดัชนีเงินเฟ้อ CPI คืนนี้

📰 แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุด ปรับคาดการณ์ GDP 1Q24 ของสหรัฐ มาที่ 2.5%QoQ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ 2.1%QoQ  จากการปรับคาดการณ์การใช้จ่ายส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

⏭️ การคาดการณ์ GDP ที่ยังคงขยายตัว สะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวลงแบบ Soft landing ทั้งนี้เรามองว่าตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก มีโอกาสพักตัว จากตลาดที่ยังขาดปัจจัยหนุนใหม่และมีความเสี่ยงจากแรงเทขายทำกำไรก่อนการประชุม Fed ในวันที่ 20 มี.ค. จึงคงมุมมองเป็นกลาง แนะนำ ถือลงทุนต่อได้ หรือ ขายทำกำไรบางส่วน และรอตลาดย่อเพื่อสะสมเพิ่ม

📰 Oracle รายงานกำไรใน 4Q23 สูงกว่าคาด หนุนจากรายได้จากการให้บริการคลาวด์ ซึ่งเป็นสัดส่วนหลักของบริษัทเติบโตสูงขึ้น 12%YoY มากกว่าที่ตลาดคาด จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลใน AI ทั้งนี้รายได้ในส่วนอื่นๆยังคงหดตัวลง

📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่ นำโดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นหลังจาก GDP 4Q23 กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่า BOJ มีแนวโน้มกลับทิศนโยบายการเงินในการประชุมวันที่ 19 มี.ค. ส่งผลให้ Bond Yield ญี่ปุ่นปรับตัวขึ้น กดดันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีถูกแรงเทขายทำกำไร ขณะที่ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นได้ดี จากเงินเฟ้อล่าสุดที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก

📰 จีนกำลังระดมเงินทุนมากกว่า 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สำหรับจัดตั้งกองทุนชิปที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เพื่อเร่งพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยเพื่อต่อสู้กับสหรัฐฯที่พยายามกีดกันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีน

⏭️ ข่าวดังกล่าวข้างต้น เรามองเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีนในระยะยาว เนื่องจากจะช่วยให้จีนสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯที่เตรียมยกระดับการควบคุมด้านเทคโนโลยีเพื่อขัดขวางความก้าวหน้าของจีนในด้านการผลิตชิปและเทคโนโลยีด้าน AI ทั้งนี้เรามองว่าตลาดหุ้นจีนมีโอกาสฟื้นตัวในระยะสั้น หนุนจากมาตรการพยุงตลาดหุ้น รวมทั้งระดับ Valuation ไม่แพง ทำให้เริ่มเห็นเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นจีนมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจพิจารณา Trading เก็งกำไรระยะสั้นได้ หากดัชนี HSCEI ไม่หลุดแนวรับที่ 5,550 จุด และ CSI300 ไม่หลุดแนวรับที่ 3,515 จุด

📰 เกาหลีใต้รายงานยอดส่งออกในช่วง 10 วันแรกของเดือนมี.ค. ลดลง 13.4%YoY จากจำนวนวันทำงานที่น้อยกว่าปีที่แล้ว ทั้งนี้ยอดส่งออก Semiconductor ยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยเติบโตสูงขึ้นถึง 21.7%YoY

⏭️ การส่งออกและอุตสาหกรรม Semiconductor ที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้เรามีมุมมองเชิงบวกในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ แนะนำรอทยอยสะสมเมื่อดัชนี KOSPI ผ่านแนวต้านบริเวณ 2,690 จุด และสามารถยืนได้

🔰Outlook & Implication

✅️สำหรับตลาดหุ้นเรามีมุมมองเชิงบวกต่อภาพการลงทุนระยะ 3 เดือนข้างหน้า แต่หลังจบช่วงการประกาศงบ นักลงทุนอาจหันไปให้ความสำคัญต่อปัจจัยมหภาคมากขึ้น ซึ่งอาจสร้างความผันผวนและเพิ่มความเสี่ยงที่ตลาดหุ้นอาจจะพักฐานระยะสั้น สรุปคำแนะนำ ถือลงทุนต่อและรอจังหวะเข้าลงทุนเพิ่มหากปรับย่อ

✅️ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปัจจุบันยังคงมี Sentiment เชิงบวกจากเเนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงเติบโต ภาคแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง เงินเฟ้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ความชัดเจนของการปรับลดดอกเบี้ย Fed มีมากขึ้น รวมถึงงบการเงินที่ยังคงทำได้ดีกว่าคาดการณ์ แนะนำทยอยสะสมเมื่อตลาดปรับย่อในกองทุนดัชนีหุ้นสหรัฐฯ SCBS&P500A, SCBNDQ(A) ส่วน Active Fund เเนะนำทยอยสะสมกอง SCBDIGI ที่มีการถือครองที่หลากหลาย ผสมผสานทั้ง Big Tech และหุุ้น Tech ขนาดกลาง-เล็ก อีกทั้งยังเปิดโอกาสในการเติบโตจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว เเละการมาของกระเเส AI Spreading อีกด้วย

✅️สำหรับสินทรัพย์ที่มีความอ่อนไหวต่อแนวโน้มดอกเบี้ยอย่าง Bonds และ REITs เราเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น หลังนักลงทุนเริ่มปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยในปีนี้มาใกล้เคียงกับมุมมองของ Fed แล้วดังนั้นจึงเป็นจังหวะทยอยสะสมหนึ่งในธีมหลักของเรา “Attractive Yield Plays” กองทุนแนะนำ SCBDBOND (กองตราสารหนี้ในประเทศ), SCBINC (กองตราสารหนี้โลก) และ SCBPINA (กอง REITs ไทยและสิงคโปร์)

 

แหล่งที่มา : SCBAM

แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก