Thailand Web Stat
FAQ คำถามที่พบบ่อย
  • ข้อมูลในเว็บไซต์ WealthMagik มีความน่าเชื่อถือได้ขนาดไหน

WealthMagik ได้คัดเลือกข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ โดยเฉพาะ ข้อมูลกองทุนรวมแต่ละกองที่ได้รับ โดยตรงจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน


  • ทาง Wealthmagik สามารถแนะนำกองทุน ที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ เป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์เลย ได้หรือไม่

เนื่องจากผู้ลงทุนแต่ละท่านมีระดับการยอมรับ ความเสี่ยงในการลงทุนที่ต่างกัน กองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง ย่อมมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น การประเมินการยอมรับความเสี่ยง เป็นสิ่งที่จำเป็น ก่อนที่จะไปค้นหากองทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละท่านต่อไป สำหรับผลตอบแทนของกองทุนแต่ละกอง WealthMagik แสดงจะข้อมูลผลตอบแทนล่าสุดให้กับท่านตลอด


  • มือใหม่หัดลงทุนควรเริ่มจากอะไร

สามารถศึกษาได้จาก https://www.wealthmagik.com/WelcomePack

  • กองทุนรวมหุ้นทุนระยะยาว (LTF) คืออะไร

LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน (ซึ่งก็คือกองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจะช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน


  • ข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์การลงทุนใน LTF

สำหรับ LTF (สามารถลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 เท่านั้น)

  1. ลงทุนสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และไม่เกิน 500,000 บาท
  2. ต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน (เริ่มลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2562 ) แต่หากลงทุนก่อนหน้านั้น เกณฑ์คือถือครบ 5 ปีปฏิทินก็จะสามารถขายคืนได้ไม่ผิดเงื่อนไข
  3. การขายคืนจะดำเนินการโดยใช้หลักเกณฑ์ “เข้าก่อนออกก่อน” (FIFO)

  • หากผิดเงื่อนไขการลงทุน LTF จะเป็นอย่างไร ?
  • หากลงทุนไม่ถึง 7 ปีปฏิทิน (ยกเว้นทุพพลภาพหรือเสียชีวิต) กำไรที่ได้จากการขายคืน จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะหักภาษี ณ ที่จ่ายเบื้องต้น 3% และคืนเงินภาษีที่เคยได้รับยกเว้นทั้งหมดทันทีที่ผิดเงื่อนไข และจ่ายเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน ของจำนวนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น โดยคิดย้อนหลังตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่ยื่นขอลดหย่อนภาษี จนถึงเดือนที่มีการยื่นคืนภาษี (ขายคืนหน่วยลงทุน)
  • หากซื้อกองทุน LTF เกินเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนด กำไรจากการขายคืนในส่วนที่เกิน จะต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คืออะไร

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ


  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เงื่อนไขการลงทุนเป็นอย่างไร

เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีเงื่อนไขการลงทุนดังนี้

  • เงื่อนไขหลักคือ ต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปีต่อเนื่อง และต้องมีอายุครบ 55 ปี ถึงจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนมาใช้ได้
  • ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยที่สุดคือปีเว้นปี ถ้าเว้นมากกว่าหนึ่งปีจะถือว่าทำผิดเงื่อนไข
  • ไม่มีกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี สามารถซื้อได้ตามขั้นต่ำของกองทุน จากที่ก่อนหน้านี้ต้องซื้อขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ หรือไม่เกิน 5,000 บาท
  • RMF ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินทั้งปี และเมื่อนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

(การนับ 5 ปีให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีอายุการลงทุนในปีนั้น ๆ)


  • กรณีที่ผู้ลงทุนถือหน่วยลงทุนครบ 5 ปี และมีอายุครบ 55 ปีแล้ว สามารถที่จะลงทุนต่อได้หรือไม่ และจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือไม่

สามารถลงทุนต่อได้ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากเงินที่นำมาลงทุนเป็นเงินได้ในประเภทที่กำหนด และไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนเรื่องจำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำ และการลงทุนสม่ำเสมออย่างน้อยปีละครั้งอีกต่อไป คือสามารถลงทุนทุกปี แต่ยังมีเงื่อนไขว่าจำนวนเงินที่จะนำไปยกเว้นภาษีในแต่ละปี จะต้องไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินทั้งปี และเมื่อนับรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆต้องไม่เกิน 500,000 บาท


  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ลงทุนหากมีการผิดเงื่อนไขการลงทุน

ผู้ลงทุนต้องดำเนินการ ดังนี้

  • กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข – ต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดทุกปี ที่ได้รับยกเว้นไป – เมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้งว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีกหรือไม่ อย่างไร
  • กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข – ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน) การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ / หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มีข้อแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วๆ ไปอย่างไร
  • จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากมีการลงทุนเป็นไปตามเงื่อนไขที่ทางการกำหนด
  • หากลงทุนไม่ถึง 5 ปี กำไรที่ได้จากการลงทุน (capital gain) ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) มีนโยบายการลงทุนเป็นอย่างไร

มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง ที่ผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน


  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เหมาะกับใคร

เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณมารองรับ เช่น คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) รวมทั้งผู้ที่มีสวัสดิการดังกล่าวแล้ว แต่มีความประสงค์ที่จะออมเพิ่มเติมให้มากขึ้น


  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) อย่างไรที่เรียกว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน
  • ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน ทั้งที่ยังคงมีเงินได้ หรือ
  • จำนวนเงินลงทุนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือ
  • ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

ทั้งนี้ หากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยกเว้น กรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน


  • กรณีที่ปีใดไม่มีเงินได้ หรือไม่มีเงินได้ติดต่อกันหลายปี จำเป็นต้องลงทุนหรือไม่

ไม่ต้องลงทุน โดยไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน


  • ต้องลงทุน RMF กองทุนเดียวไปตลอด หรือต้องลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเดียวไปตลอดหรือไม่ และถ้าหยุดลงทุนในกองทุนเดิม เพื่อไปลงทุนในกองทุนใหม่ได้เลยหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องลงทุน RMF กองทุนเดียวไปตลอด สามารถลงทุนในกองทุนอื่นซึ่งจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมอื่นได้ด้วย โดยอาจลงทุนในกองทุนเดิมต่อ หรือหยุดลงทุนก็ได้ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น


  • กรณีลงทุนหลายกองทุนจำเป็นต้องลงทุนทุกกองทุนในทุก ๆ ปีหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องลงทุนทุกกองทุน แต่สามารถนำยอดเงินลงทุนของหลายกองทุนมารวมกันได้ โดยไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆต้องไม่เกิน 500,000 บาท

  • กองทุน SSF คืออะไร?

กองทุน SSF (Super Saving Funds) คือ กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว


  • ลงทุนในอะไรบ้าง

ลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท รวมถึงตราสารหนี้และกองทุนรวม ซึ่งมีความยืดหยุ่นมากกว่า LTF ที่กำหนดให้ลงทุนในหุ้นสามัญภายในประเทศ


  • สิทธิประโยชน์
  • สามารถนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้และไม่เกิน 200,000 บาท
  • ไม่กำหนดจำนวนขั้นตํ่าในการซื้อ และไม่บังคับซื้อต่อเนื่อง
  • มีเงื่อนไขต้องถือหน่วยลงทุน 10 ปี ขึ้นไปนับจากวันที่ซื้อ

  • หากลูกค้าลงทุนผิดเงือนไข SSF จะต้องทําอย่างไร ?

หากผิดเงื่อนไข SSF จะถือว่าการลงทุน ไม่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร สิทธิประโยชน์ ทางภาษีที่ผู้ลงทุนได้รับจะสิ้นสุดลง โดยผู้ลงทุนต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับพร้อมเงินเพิ่ม ตัวอย่าง การลงทุนของลูกค้า ดังนี้

  • ซื้อปี 2563 จำนวน 10,000 บาท
  • ซื้อปี 2564 จำนวน 20,000 บาท
  • ซื้อปี 2565 จำนวน 30,000 บาท

ต่อมาขายออกปี 2566 จำนวน 10,000 บาท ถือเป็นการขายหน่วยลงทุนของปี 2563 (FIFO) ผู้ถือหน่วยจะต้องยื่นภาษีเงินได้ของปี 2563 เพิ่มเติ่มซึ่งเป็นเฉพาะปีภาษีที่ผิดเงื่อนไข

  • กองทุน SSFX คืออะไร?

กองทุน SSFX ( Super Saving Funds Extra ) คือ กองทุนเฉพาะกิจที่เปิดขายในช่วง 3 เดือนนี้ หรือ ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 โดยมีเงื่อนไขการถือครองเช่นเดียวกับ SSF นั่นก็คือ 10 ปี

ซึ่งการซื้อ SSFX จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากยอด 500,000 บาท โดยไม่มีการกำหนดอัตราลดหย่อนจากรายได้ แต่จำกัดวงเงินที่จะลดหย่อนสูงสุด 200,000 บาท สำหรับคนที่สนใจ การซื้อ SSFX ในตอนนี้ หมายถึงการเข้าลงทุนในจังหวะที่ราคาหุ้นเฉลี่ยต่ำสุดในรอบหลายปี และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เพิ่มเติมจากการซื้อกองทุนประเภทอื่นอีกด้วย


  • ลงทุนในอะไรบ้าง

กองทุน SSFX มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย สัดส่วนไม่น้อยกว่า 65 % ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) มาพร้อมกับเงื่อนไขพิเศษที่เปิดให้ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุนได้ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย.2563 ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนบาท (ไม่รวมกับวงเงินซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน SSF แบบปกติ) โดยมีระยะเวลาการถือครอง 10 ปี นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุน


  • เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง SSF และ SSFX

ลดหย่อนภาษี ด้วยกองทุนใหม่ เทียบให้ชัด กองทุน SSF – SFFX กองทุนเพื่อการออม ลดหย่อนภาษีเพิ่มพิเศษ แบบไหนเหมาะกับคุณ

ระยะเวลาใช้สิทธิ

  • SSF : ลงทุนได้ตั้งแต่ปี 2563-2567
  • SSFX : ลงทุนได้ตั้งแต่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 63 เท่านั้น

นโยบาย

  • SSF : ลงทุนหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท
  • SSFX : รับความผันผวนจากหุ้นได้(ลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65%)

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • SSF : ลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน (แต่ไม่เกิน 200,000 บาท)
  • SSFX : ลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุด 200,000 บาท(เพิ่มจากวงเงิน SSF ปกติ)

อย่างไรก็ตาม ทั้งกองทุน SSF แบบปกติ & SSF แบบพิเศษ เหมาะกับคนอายุต่ำกว่า 50 ปี ที่มีเงินลงทุนระยะยาวได้ เพราะเงื่อนไขของ SSF ต้องถือครองขั้นต่ำ 10 ปี เทียบง่ายๆ ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไป แล้วซื้อ SSF หรือ SSFX ก็ต้องถือไปอีก 10 ปี ดังนั้นถ้าอายุ 50 การเลือกกองทุน RMF อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า เพราะถือเพียง 5 ปี


  • ลูกค้าสามารถซื้อทั้ง SSF พิเศษ และ SSF ปกติพร้อมกัน ในช่วง 1 เม.ย – 30 มิ.ย. 2563 ได้หรือไม่?

ลูกค้าสามารถซื้อทั้ง SSF พิเศษ และ SSF ปกติ พร้อมกันได้ ภายใต้เงื่อนไขการลงทุน SSF คือ

  1. ซื้อ SSF พิเศษได้ไม่เกิน 200,000 บาท
  2. ซื้อ SSF ปกติได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 200,000 บาท (เมื่อรวม SSF ปกติกับ PVD, RMF, ประกันบำนาญ หรือกองทุนเกษียณอื่น ๆ แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท)

โดยการลงทุนใน SSF พิเศษ และ SSF ปกติ ต้องถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ (วันชนวัน)


  • ลูกค้าสับเปลี่ยน SSF พิเศษ ไปกองทุนไหนได้บ้าง?

ลูกค้าสามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน จากกองทุน SSF พิเศษ ไปยังกองทุน SSF พิเศษอื่นได้เท่านั้น (ไม่สามารถสับเปลี่ยนไป SSF ปกติได้) โดยบลจ.จะเปิดให้ทํารายการขายคืนหรือสับเปลี่ยนออกได้ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง (ทั้งนี้การขายคืนก่อนครบ 10 ปี นับจากวันที่ซื้อถือว่า การลงทุนดังกล่าว ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร)


  • ลูกค้าสามารถซื้อ SSF พิเศษ หรือ SSF ปกติหลายกองทุน หรือ หลาย บลจ.ได้หรือไม่?

ลูกค้าสามารถกระจายซื้อ SSF พิเศษ หรือ SSF ปกติ ได้หลายกองทุน หรือหลาย บลจ. ได้ แต่ต้องไม่เกินวงเงินที่สามารถใช้สิทธิได้

  • ต้องการสมัครสมาชิกต้องทำอย่างไรบ้าง

ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิก WealthMagik ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยท่านสามารถสมัครสมาชิกได้ 3 วิธี

  1. สมัครโดยใช้ Username&Password
  2. สมัครโดย Log in With Facebook
  3. สมัครโดย Sign in with Google

  • เมื่อทำการสมัครสมาชิกในระบบลงทะเบียน online แล้วระบบแจ้งเตือนว่า “ท่านเคยสมัครสมาชิกแล้ว” หมายความว่าอย่างไร

ระบบจะตรวจสอบชื่อ Username และ/หรือ E-mail address ว่าเคยมีอยู่ในระบบหรือไม่ ผู้ใช้งานควรใช้ Username และ/หรือ E-mail address อื่นที่ไม่ซ้ำกับในระบบที่มีอยู่แล้ว


  • หากระบบแจ้งเตือนว่า “ท่านเคยสมัครสมาชิกแล้ว” แต่จำ Username เพื่อ log in ไม่ได้ จะต้องทำอย่างไร

ให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้งานส่วน Forgot Username or Password เพื่อกรอก E-mail address ที่เคยแจ้งไว้ตอนสมัคร ระบบจะส่ง Username เดิมและ Password ใหม่เพื่อใช้ในการ log in ไปที่ E-mail address ดังกล่าว


  • ต้องการเปลี่ยน Username และ Password ได้หรือไม่

ท่านไม่สามารถเปลี่ยน Username ได้ แต่สามารถเปลี่ยน Password ได้ด้วยตนเอง โดยทำการ log in เข้าสู่ระบบลงทะเบียน และเลือกเมนู “เปลี่ยนรหัสผ่าน” ระบุ Password เดิม และใส่ Password ใหม่ที่ต้องการ ระบบจะบันทึกให้ท่านและสามารถใช้ Password ใหม่ได้ทันที


  • ลืม Password ควรทำอย่างไร

ให้ผู้ใช้ระบบเข้าใช้งานส่วน Forgot Username or Password เพื่อกรอก E-mail address ที่เคยแจ้งไว้ตอนสมัคร ระบบจะส่ง Username เดิมและ Password ใหม่เพื่อใช้ในการ log in ไปที่ E-mail address ดังกล่าว


  • วิธีการลบข้อมูลใน Consolidated Portfolio
  1. คลิกเมนู ประวัติการทำรายการและเงินปันผล ในหน้า Consolidated Portfolio
  2. ค้นหารายการที่ต้องการลบ โดยระบบจะแสดงรายการย้อนหลัง 90 วัน หากรายการที่ต้องการลบเกิน 90 วันให้ทำการเปลี่ยนวันที่มีผล ตั้งแต่ ถึง เพื่อหาช่วงเวลาที่มีการทำรายการ แล้วกด Search ให้มีข้อมูลปรากฎ สามารถคลิกรูปถังขยะลบข้อมูล

  • วิธีการต้องการ Sync Port จาก Trading WealthMagik
  1. คลิกที่ Consolidated Portfolio แล้วเลือกพอร์ตที่ต้องการจะ sync กดรูป รายละเอียดพอร์ต
  2. คลิกที่ sync รายการจาก Trading ระบบ จะทำการดึงรายการซื้อขายจาก Trading เข้าสู่พอร์ต
  • WealthMagik Service คืออะไร

เป็นผู้ช่วยให้คุณติดตามพอร์ตลงทุน ทั้งกองทุน หุ้น หุ้นกู้ ได้ในที่เดียว พร้อมฟีเจอร์ช่วยวางแผน เช็คสุขภาพ และปรับพอร์ตให้ดีขึ้น


  • เหมาะกับใคร

นักลงทุนที่มีสินทรัพย์การลงทุนหลายที่ หลายโบรคเกอร์ ต้องการความสะดวกในการติดตามดูแล หรือนักลงทุนที่ต้องการดูแลพอร์ตลงทุนเอง โดยไม่ต้องพึ่งที่ปรึกษาการลงทุน พร้อมรับคำแนะนำที่เป็นกลาง ใช้งานได้ทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับ WealthMagik ก็ใช้บริการได้


  • ค่าบริการ
  • เริ่มต้นใช้งานฟรี สำหรับพอร์ตกองทุน พอร์ตหุ้น พอร์ตหุ้นกู้ อย่างละ 1 พอร์ต และรายงานรวมสินทรัพย์ 1 รายงาน
  • สามารถอัพเกรดเป็น WealthMagik Service Professional
    • Portfolio Premium 99 บาท / เดือน
    • Portfolio Premium 249 บาท / 3 เดือน
    • Portfolio Premium 479 บาท / 6 เดือน
    • Portfolio Premium 949 บาท / 12 เดือน

  • คู่มือการใช้งาน

เริ่มต้นใช้งาน WealthMagik Service

วิธีเพิ่มพอร์ตกองทุน

วิธีใช้งานหน้ารวมพอร์ต

สร้างพอร์ตกองทุนสำหรับบุตร

ตรวจสุขภาพพอร์ตกองทุน

สร้างพอร์ตหุ้นกู้

สร้างพอร์ตหุ้น


  • วิธีการชำระเงิน

สามารถชำระค่าบริการผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA, MasterCard หรือ JCB


  • วิธีการแจ้งปัญหาการใช้งาน

สามารถติดต่อสอบถาม WealthMagik ได้ ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

  1. email : [email protected]
  2. Inbox Facebook : fb.com/WealthMagik
  3. Line id : @WealthMagik
  4. Tel : 0-2861-5508 กด 0 เพื่อติตต่อเจ้าหน้าที่

ทางทีมงานจะรีบติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด ในวันและเวลาทำการ

  • การเปิดบัญชีกองทุนต้องเปิดทุก บลจ. หรือไม่

เนื่องจาก บล.เว็ลธ์ เมจิก ดำเนินธุรกิจเป็นการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลูกค้าสามารถเปิดบัญชีกองทุนเฉพาะ บลจ. ที่ลูกค้าสนใจได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีครบทุก บลจ.


  • วิธีการเปิดบัญชี

ขั้นตอนเปิดบัญชีกองทุน

  1. กรอกข้อมูลเปิดบัญชี
  2. ส่งเอกสารคำขอเปิดบัญชี
  3. รออนุมัติเปิดบัญชี ภายใน 3 วันทำการ (หากเอกสารและข้อมูลถูกต้องเรียบร้อย)

ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wealthmagik.com/wmg-securities-service


  • ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ผ่าน WealthMagik

ใช้บริการผ่าน WealthMagik ไม่เสียค่าธรรมเนียม/ค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น โดยราคาที่ได้เป็นราคาเดียวกับที่ซื้อผ่านเคาเตอร์ธนาคาร สำหรับค่าธรรมเนียมกองทุนจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่บลจ.ประกาศไว้ในหนังสือชี้ชวน


  • สามารถซื้อขายกองทุน บลจ.บัวหลวง, ทิสโก้, ASSET PLUS

ปัจจุบันทาง WealthMagik ยังไม่ได้เป็นตัวแทนขายกับ บลจ.ดังกล่าว ซึ่งในอนาคตเราจะพยายามเป็นตัวแทนขายให้ครบทุกบลจ.เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นทางเลือกในการลงทุนให้ลูกค้า แต่เนื่องจากยังติดเรื่องเงื่อนไขของการรับตัวแทนขายและ ระบบการทำงานที่ไม่ตรงกัน

  • หากเปิดบัญชีกองทุน หรือตราสารหนี้ตลาดรองอย่างเดียวได้หรือไม่

ลูกค้าสามารถเปิดบัญชีตราสารหนี้ตลาดรอง หรือกองทุน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างได้พร้อมกัน
โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.wealthmagik.com/wmg-securities-service


  • วิธีซื้อขายกองทุน

ซื้อขายกองทุนได้ทั้งทางแอปพลิเคชั่น WealthMagik Trading หรือ
https://trading.WealthMagik.com</a >
ดูเพิ่มเติมที่
https://trading.WealthMagik.com/manual/subscription.html</a >


  • การสมัครตัดบัญชีอัตโนมัติ (ATS)

  • วิธีการโอนหน่วย / สับเปลี่ยนกองทุน
  1. เข้าสู่ระบบ WealthMagik Trading
  2. เลือก “เมนูข้อมูลนักลงทุน”
  3. เลือกเมนูย่อย “แบบฟอร์มคำขอโอนหน่วย” หรือ
    “แบบฟอร์มสับเปลี่ยนกองทุนข้ามบลจ.”
  4. ดาวน์โหลดและพิมพ์เพื่อกรอกข้อมูล จัดส่งมาที่ WealthMagik
  • การสับเปลี่ยนให้ระบุเป็นจำนวนหน่วยเท่านั้น ระบุแบบฟอร์มทั้งตัวเลข
    และตัวอักษร ไม่ต้องระบุวันที่ดำเนินการ ในแบบฟอร์มบลจ.ต้นทาง
    ส่วนบลจ.ปลายทางไม่ต้องระบุจำนวน และวันที่ดำเนินการ

  • วิธีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล
  1. เข้าสู่ระบบ WealthMagik Trading
  2. เลือก“ข้อมูลนักลงทุน”
  3. เลือกเมนูย่อย “แบบฟอร์มคำขอแก้ไขข้อมูลผู้ถือหน่วย”
  4. ดาวน์โหลดและพิมพ์เพื่อกรอกข้อมูล และจัดส่งมาที่ WealthMagik

**หมายเหตุ : การลงนามในเอกสารต่างให้ลงนามลายเซ็นต์ที่ตรงกับเอกสารเปิดบัญชี
แต่หากเป็นเอกสารใบคำขอหักบัญชีอัตโนมัติ
ให้ลงนามลายเซ็นต์ตรงกับที่ให้ไว้กับทางธนาคาร
และการหักบัตรเครดิตลายเซ็นต์ต้องตรงกับใบสมัครบัตรเครดิต


  • ระยะเวลาในการอัพเดทพอร์ทการลงทุน
  • สำหรับรายการซื้อกองทุนในประเทศ ระบบจะจัดสรรหน่วยให้ลูกค้า ณ วันที่ T+1
    ประมาณ 10.00 น.เป็นต้นไป
  • สำหรับรายการซื้อกองทุนต่างประเทศ ระบบจะจัดสรรหน่วยให้ลูกค้า ณ วันที่ T+2
    ประมาณ 10.00 น.เป็นต้นไป

  • สามารถโอนกองทุนที่เคยซื้อไว้กับ บลจ โดยตรง มารวมไว้ที่ WealthMagik
    ที่เดียวได้หรือไม่
  • สามารถโอนมารวมได้ ทั้งนี้เงื่อนไขการโอนขึ้นอยู่กับที่บลจ.กำหนด
    และจะต้องดำเนินการเปิดบัญชีผ่านWealthMagik ให้เรียบร้อยก่อน
  • สำหรับวิธีการโอนหน่วย สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ หน้าทำรายการซื้อขาย
    ที่เมนู >> ข้อมูลนักลงทุน >>แบบฟอร์มคำขอโอนหน่วย
  • สำหรับการสับเปลี่ยน LTF/RMF ข้ามบลจ. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่
    >>ข้อมูลนักลงทุน >>แบบฟอร์มสับเปลี่ยนกองทุนข้าม บลจ.

  • มีสมุดกองทุนหรือไม่

หากลูกค้ามีความประสงค์ที่จะขอรับสมุดกองทุนสามารถแจ้งความประสงค์เข้ามาได้ที่
E-mail : [email protected]

หมายเหตุ : บาง บลจ.ไม่สามารถออกสมุดกองทุนได้
จะออกเป็นหนังสือรับรองสิทธิให้แทน เช่น ONEAM
และบางบลจ.จะออกได้เฉพาะบางกองทุน ส่วนที่ไม่สามารถออกได้
จะให้เป็นหนังสือรับรองสิทธิแทนเช่นเดียวกัน เช่น KTAM , MFC , Principal
สามารสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : [email protected]


  • วิธีการสับเปลี่ยนกองทุนภายใน บลจ เดียวกัน
  • สามารถสับเปลี่ยนกองทุนผ่านระบบได้ โดยดูวิธีการสับเปลี่ยนกองทุนได้ที่
    https://trading.WealthMagik.com/manual/switching.html
  • กรณีไม่มีกองทุนปลายทางที่ต้องการสับเปลี่ยน
    สามารถตรวจสอบข้อมูลตารางสับเปลี่ยนได้ที่หน้าเว็บไซต์ บลจ หรือสอบถามได้ที่
    Line@ : @WealthMagik หรือ E-mail : [email protected]

  • วิธีการขอหนังสือรับรอง RMF/SSF

สามารถดูช่องทางการขอหนังสือรับรอง RMF/SSF เพื่อลดหน่อยภาษีได้ที่
https://trading.WealthMagik.com/login >> ข้อมูลนักลงทุน >> ขอหนังสือรับรอง
SSF,RMF


  • วิธีการซื้อกองทุนด้วยบัตรเครดิต
  • สามารถซื้อกองทุน SSF/RMF โดยบัตรเครดิตได้
    โดยดูรายชื่อบัตรเครดิตที่ซื้อกองทุนได้ที่
    https://trading.WealthMagik.com/creditcardForms/creditCardBank.png
  • ทำรายการซื้อผ่านระบบ โดยเลือกวิธีการชำระเงินโดยบัตรเครดิต
  • เมื่อทำรายการซื้อสำเร็จแล้ว กรุณาดาวน์โหลดใบคำสั่งซื้อที่ระบบสร้างขึ้น
    เพื่อลงลายมือชื่อของผู้ถือหน่วยลงทุน แล้วส่งสำเนากลับมาทาง Email :
    [email protected] พร้อมสำเนาบัตรเครดิตหน้าหลัง โดยปิดเลข CVV
    ด้านหลังบัตร

  • วิธีการสร้างแผน DCA
  • สามารถกำหนดแผน DCA ได้ที่เมนู >> แผนการลงทุน >> กำหนดแผนซื้อ
  • โดยระบุกองทุนที่ต้องการซื้อ, ระยะเวลาของแผน วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด,
    เงื่อนไขแผนการลงทุน ทุกสัปดาห หรือ ทุกเดือน, จำนวนเงินที่ซื้อ
    และเลือกวิธีการชำระเงิน
  • กดตกลง เพื่อสร้างแผน DCA

  • วิธีการยกเลิกรายการ ซื้อ ขาย สับเปลี่ยน

สามารถยกเลิกรายการก่อนเวลา Cut of time ได้ โดยสามารถดูรายวิธีการยกเลิกรายการ
ซื้อ ขาย สับเปลี่ยน ได้ที่
https://trading.WealthMagik.com/manual/cancel-transaction.html</a >


  • วิธีการดูสรุปการลงทุนรายปี LTF/RMF/SSF/SSFX