Thailand Web Stat

เลือกกองทุนไหนดี

        ทุกวันนี้ หากนักลงทุนเดินเข้าไปในธนาคาร และแสดงความสนใจลงทุนในกองทุนรวม จะพบว่ามีข้อมูลมากมาย แต่ส่วนมากจะถูกเสนอขายกองทุนของบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) ตนเองซะมากกว่า ทำให้นักลงทุนโดนเอาเปรียบ Push Product ได้ง่าย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงกำหนดให้กองทุนทุกประเภท ต้องเปิดเผยข้อมูลให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์กับผู้ลงทุนในการตัดสินใจ ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) จึงได้จัดทำเครื่องมือที่เรียกว่า “ข้อมูลเปรียบเทียบผลการดำเนินงานแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์” หรือที่เรียกว่า Peer Group Performance ซึ่งเริ่มเผยแพร่มานานตั้งแต่ปลายปี 2557 และมีการเผยแพร่ให้นักลงทุนเป็นประจำทุกเดือน

ภาพตัวอย่าง : ตารางผลการดำเนินงานของกองทุนที่การเปรียบเทียบจาก AIMC

“การดำเนินงานแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์” คืออะไร

คือเทียบเป็นอัตรา 100 เท่ากันหมดทุกประเภทกองทุน เพื่อวัดการดำเนินงานของกองทุนรวมทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาด ด้วยความที่กองทุนแต่ละประเภทมีจำนวนกองทุนไม่เท่ากัน ทำให้เปรียบเทียบกันได้ลำบาก จึงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ไทล์ออกมา เพื่อความง่ายในการเปรียบเทียบ

ทำไมต้องเป็น “ขนมชั้นกองทุน” ?

ในการเปรียบเทียบการดำเนินงานแบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ มีการแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ตามอัตราผลตอบแทน ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : 5th Percentile แสดงผลการดำเนินงานของกองทุนอันดับที่ 5 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 

กลุ่มที่ 2 : 25th Percentile แสดงผลการดำเนินงานของกองทุนอันดับที่ 25 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 

กลุ่มที่ 3 : 50th Percentile แสดงผลการดำเนินงานของกองทุนอันดับที่ 50 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 

กลุ่มที่ 4 : 75th Percentile แสดงผลการดำเนินงานของกองทุนอันดับที่ 75 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 

กลุ่มที่ 5 : 95th Percentile แสดงผลการดำเนินงานของกองทุนอันดับที่ 95 เปอร์เซ็นต์ไทล์ 

ตีความง่าย ๆ คือ 5th Percentile หมายถึงผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดใน 5% ของบรรดากองทุนทั้งหมดที่นำมาเปรียบเทียบผลตอบแทน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด จากนั้นก็ลงไปเรื่อย ๆ ลำดับถัดไปคือค่าเฉลี่ยผลตอบแทนบรรดากองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 25% แรกที่นำมาเปรียบเทียบจนถึง 95% ตามลำดับ

สำหรับผู้อ่าน หรือ นักลงทุน ที่สนใจ สามารถตรวจสอบสถานะกองทุนของตนเอง ได้ฟรี! เพียงกรอกโค้ดของ “กองทุนรวม” ที่ต้องการ อาทิเช่น  กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นปันผล (KFSDIV) จากนั้นพิมพ์คำว่า “KDLTF” ไปในช่อง “กรอกชื่อกองทุน”  ถือว่าเป็นอันเรียบร้อย ข้อมูลกองทุน “KDLTF” ก็จะปรากฎขึ้น พร้อมแถบสีเป็นชั้น ๆ และมี “หมุด” แสดงฐานะของกองทุนปักไว้ภายใน ดังภาพด้านล่าง

ภาพตัวอย่าง : ข้อมูล ณ วันที่ 30/04/2562

ถึงตรงนี้ ผู้อ่านเข้าใจแล้วว่าทำไมถึงเรียก “ขนมชั้นกองทุน” เพราะมีการแสดงแถบสีเป็น “ชั้น ๆ” เปรียบเหมือน “ขนมชั้น” นั่นเอง อย่างไรก็ตาม “ภาพขนมชั้น พร้อมหมุดแสดงฐานะของกองทุน” ไม่สำคัญเท่ากับข้อมูลที่ปรากฏ เพราะเป็นข้อมูลที่แสดงฐานะแท้จริงของกองทุนรวมที่คุณต้องการรู้ 


กองทุนของคุณอยู่ชั้นไหนกันนะ มาลองเปรียบเทียบกองทุน แบบเปอร์เซ็นต์ไทล์ ในสไตล์ "ขนมชั้นกองทุน" แบบง่ายๆ ได้แล้ววันนี้ ฟรี 
คลิกเลย