Thailand Web Stat

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทางเลือกเพื่อการลงทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทางเลือกเพื่อการลงทุน

        หลายๆ คนอาจจะมองว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นแค่การสะสมเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกๆ เดือนพร้อมกับได้จำนวนเงินที่ทางนายจ้างจะสมทบเข้าไปอีกพอตอนเกษียณก็จะได้เงินก้อนออกมาใช้โดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องของแผนการลงทุนหรือรายละเอียดอื่นๆ แต่จริงๆ แล้วกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีรายละเอียดที่ต้องศึกษา และต้องทำความเข้าใจเยอะมากยกตัวอย่างเช่น

– แผนการลงทุนที่เลือก

– อายุงาน

– อายุเกษียณ

– จำนวนเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณและอื่นๆ

        เมื่อพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ทำให้บางคนที่ไม่มีประสบการณ์หรือความรู้ด้านการลงทุนต้องปวดหัว สุดท้ายอาจจะเลือกแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำหรือบางคนอาจจะเลือกแผนการลงทุนตามคนอื่นๆซึ่งนำไปสู่สาเหตุที่ทำให้เงินที่สะสมไม่เพียงพอต่อชีวิตวัยเกษียณ

        บลจ. พรินซิเพิลขอแนะนำแผนการลงทุนที่เป็นจุดเด่นที่มีบริการให้เฉพาะสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ครอบคลุมสำหรับคนที่มีประสบการณ์ และไม่มีประสบการณ์ทางด้านการลงทุนโดยจะแบ่งเป็น2 รูปแบบดังนี้

1. รูปแบบสมดุลตามอายุ (Principal Target Date RetirementFund)

ออกแบบมาเพื่อช่วยจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสมาชิกในทุกช่วงเวลาการลงทุนซึ่งออกแบบมาสำหรับสมาชิกที่ไม่มีประสบการณ์ และเวลามาดูการลงทุนโดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและปรับแผนการลงทุนให้อัตโนมัติตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุเพื่อให้พอร์ตของสมาชิกมีโอกาสเติบโตอย่างเหมาะสม เช่น วัยเริ่มทำงานมีระยะเวลาลงทุนยาวนานจึงทำให้รับความเสี่ยงได้มากกว่าวัยใกล้เกษียณที่เหลือเวลาออมเงินน้อย และอยากรักษาความมั่นคงของเงินต้นให้มากขึ้น


ทั้งนี้หากสมาชิกสนใจ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ “พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ” สามารถเริ่มดำเนินการลงทุนด้วยวิธีง่าย ๆ

1. หาปีเกษียณของสมาชิกง่ายๆเพียงเอาปี ค.ศ. ผู้ลงทุนเกิด + อายุเกษียณของบริษัท

นายจ้าง = ปีเกษียณของนักลงทุน

2. เลือกแผนการลงทุนตามปีเกษียณของสมาชิกเพียงครั้งเดียวเงินลงทุนของสมาชิกจะถูกบริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจนถึงวัยเกษียณ

ตัวอย่างเช่น

สมาชิกเกิดปี 2000 และคาดการณ์อายุเกษียณที่ 60 ปี เพราะฉะนั้นแผนการลงทุนที่ต้องเลือกคือ TD60

จุดเด่นของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รูปแบบสมดุลตามอายุ (PrincipalTarget Date Retirement Fund)

ผู้เชี่ยวชาญจะทำหน้าที่จัดการและดูแลนักลงทุนโดย

1. คัดเลือกประเภทของสินทรัพย์ (AssetClass Selection) ให้เหมาะสมกับคนไทย โดยเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีพื้นฐานดีและสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับสมาชิกในระยะยาว

2. ปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาว (StrategicAsset Allocation) และปรับลดความเสี่ยงของพอร์ตให้อัตโนมัติด้วยการสร้างกรอบการลงทุนปรับให้สมดุลตามอายุ ตาม Glide Path เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนการลงทุนที่สูงในวัยเริ่มทำงานและทยอยปรับลดความเสี่ยงเมื่อใกล้วัยเกษียณอายุ

3. ปรับกลยุทธ์การลงทุนตามสภาวะตลาด(Tactical Asset Allocation) โดยผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในแต่ละกลุ่มหลักทรัพย์ภายในกรอบสัดส่วนการลงทุนที่กำหนดเพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นโดยการคาดการณ์ภาวะตลาดและผลตอบแทนการลงทุนในระยะสั้น (12-18 เดือน)

4. สร้างวินัยการลงทุนด้วยเทคนิค RebalancingPortfolio โดยการปรับสัดส่วนการลงทุนให้สมาชิกอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้สมาชิกมีความเสี่ยงมากกว่าที่ยอมรับได้

กล่าวคือ ตอนเริ่มต้นทำงานจะแบ่งเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าเพื่อเพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนสูงและพอใกล้เกษียณอายุ จะแบ่งสัดส่วนมาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาเงินต้น

2. รูปแบบสมดุลตามความเสี่ยง (Target Risk)

        เหมาะกับคนที่มีความรู้ด้านการลงทุนพอสมควร และมีเวลาติดตามสภาวะตลาดอย่างสม่ำเสมอ


ข้อดีของแผนนี้ก็คือ ความยืดหยุ่นในการลงทุน สมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ อย่างไรก็ตามบลจ. พรินซิเพิล


ช่วยสร้างแผนการลงทุนมาตรฐานมาแนะนำ ตั้งแต่แผนสำหรับสมาชิกที่รับความเสี่ยงได้ต่ำมาก (Conservative) ไปจนถึงระดับ Do-it-yourself (DIY) 


ที่ให้สมาชิกเลือกสินทรัพย์พร้อมกำหนดสัดส่วนการลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่ต้องการ โดยจะเลือกลงทุนตราสารทุนในสัดส่วนที่มากถึง 100% ก็ทำได้


จากตารางสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถกำหนดสัดส่วนการลงทุนในแผนการลงทุนต่างๆได้ด้วยตัวเองซึ่งเหมาะกับผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการลงทุนที่อยากกำหนดสัดส่วนการลงทุนด้วยตัวเอง

แผนการลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในรูปแบบสมดุลตามความเสี่ยง (TargetRisk) ประกอบด้วยทั้งหมด 8 กองทุน จัดเป็น 4กลุ่มการลงทุนหลักดังนี้

1. กลุ่มตราสารหนี้

– ตราสารหนี้ระยะสั้น (TR_iDAILY)

นโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ระยะสั้นตราสารทางการเงิน และ/หรือ เงินฝาก ระยะสั้น อายุเฉลี่ยประมาณ 3 เดือนที่เสนอขายทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ที่ออกโดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจสถาบันการเงิน

– ตราสารหนี้ (TR_iFIXED)

นโยบายลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้อายุปานกลางตราสารทางการเงิน และ/หรือ เงินฝาก อายุเฉลี่ยประมาณ 2 ปี ที่เสนอขายทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ที่ออกโดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน


2. กลุ่มตราสารทุนในประเทศ

– หุ้นไทย (TR_TEQ) เน้นหุ้นเติบโตดี

นโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนที่มีปัจจัยพื้นฐานดีหรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนหรือมีโอกาสได้รับผลดีจากนโยบายของรัฐบาลหรือมีศักยภาพในการเติบโตสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ

– หุ้นไทย (TR_TDIF) เน้นหุ้นปันผล

นโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนหรือหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีแนวโน้มการเติบโตในทางธุรกิจ หรือบริษัทที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดี

– หุ้นไทย (TR_SET50) เน้นหุ้นใน SET50

นโยบายสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามการเคลื่อนไหวของดัชนีSET50 โดยการลงทุนจะมีลักษณะเป็นการบริหารกองทุนเชิงรับ(Passive Management)

3. กลุ่มตราสารทุนต่างประเทศ

หุ้นต่างประเทศ (TR_GEQ)

นโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน ตราสารทุนและ/หรือ กองทุน Exchange Traded Fund(ETF) ตราสารทุน โดยสามารถลงทุนได้ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกหรือบางช่วงอาจเน้นลงทุนเฉพาะประเทศ กลุ่มประเทศ ภูมิภาค และ/หรือ กลุ่มธุรกิจ (Sectors)โดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์สภาวะการลงทุน
– หุ้นต่างประเทศ (TR_GOPP)

นโยบายการลงทุนจะลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวคือMorgan StanleyInvestment Funds Global Opportunity Fund (กองทุนหลัก)โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน(Feeder Fund) โดยกองทุนบริหาร และจัดการโดย MorganStanley Investment Management (ACD) มุ่งเน้นการสร้างอัตราผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในหุ้นทั่วโลกในระยะยาว

4. กลุ่มการลงทุนทางเลือก

– กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (TR_iPROP)

นโยบายเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ได้ทั้งใน และต่างประเทศโดยมุ่งลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์(REITs) หน่วยของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในหมวดพัฒนาอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์(กองทุน Infra)


*ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

PRINCIPAL GOPP กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในอเมริกาเหนือผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย

PRINCIPAL GEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศเยอรมันผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย


บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน(Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน/ กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้

สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับ บลจ. พรินซิเพิล
ดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่
https://www.principal.th/th/provident-fund

ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02 686 9500 กด 2


ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน /ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต