Thailand Web Stat

NEER / REER คืออะไร ? ทำไมเทียบแค่ THB-USD อย่างเดียวไม่พอ

NEER/REER
NEER / REER

ในปัจจุบันที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาทอ่อนมีมากมาย เช่น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นโบายทางการเงิน หรือแม้แต่การเกร็งกำไรของสินทรัพย์ประเภทต่างๆ หากจะคาดการณ์แนวโน้มค่าเงินบาทในอนาคต จะต้องทำความเข้าใจกับดัชนี NEER/REER

NEER คืออะไร

NEER (Nominal Effective Exchange Rate) หรือ ดัชนีค่าเงินบาท เป็นดัชนีวัดค่าเงินที่มาจากการหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อค่าเงินประเทศอื่นๆ ซึ่งถ้าหาก NEER เพิ่มขึ้น แสดงว่า เงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลให้ไทยเสียเปรียบด้านอัตราแลกเปลี่ยนในแง่ของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะแพงขึ้น แต่เป็นผลดีกับการส่งออกสินค้าของไทยที่สามารถส่งออกได้มากขึ้น เนื่องจากประเทศคู่ค้ามองว่าสินค้าของเราถูกลง ในทางกลับกันถ้าหาก NEER ลดลง แปลว่าค่าเงินบาทแข็งขึ้น หมายความว่าไทยจะได้เปรียบด้านอัตราแลกเปลี่ยน ในแง่ของการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แต่ก็สามารถส่งออกสินค้าได้น้อยลงเช่นกัน เพราะประเทศคู่ค้ามองว่าสินค้าจากเราแพง

REER คืออะไร

REER (Real Effective Exchange Rate) หรือ ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง เป็นดัชนีค่าเงินที่คล้ายกับ NEER แต่จะต่างกันตรงที่ REER จะมีการคำนวณราคาสินค้าหรืออัตราเงินเฟ้อประกอบด้วย ถ้าหากประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง แสดงว่าต้นทุนและราคาสินค้าสูง แต่ถ้าหากประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ แสดงว่าต้นทุนและราคาสินค้าต่ำ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันไม่มีประสิทธิภาพ

ทำไมถึงต้องใช้ NEER / REER ควบคู่กัน

ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2023 ค่าเงินอยู่ที่ราว ๆ 34 THB ต่อ 1 USD แต่ ณ ปัจจุบันค่าเงินอยู่ที่ราว ๆ 36 THB ต่อ 1 USD แปลว่าเราใช้เงินบาทมากขึ้นในการซื้อดอลลาร์สหรัฐ นั่นก็คือค่าเงินบาทอ่อนค่าลงถ้าหากต้องการดูแนวโน้มค่าเงินบาท ก็ควรที่จะดู NEER ประกอบด้วย เพราะการเทียบอัตราแลกเปลี่ยน THB/USD เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้สะท้อนถึงความสามารถในการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศได้ ซึ่งหมายความว่าแทนที่เราจะเลือกดู THB/USD เพียงอย่างเดียว เราควรดูสกุลเงินประเทศอื่น ๆประกอบด้วยเช่น THB/EUR หรือ THB/GBP เพื่อเป็นการหาคำตอบที่ดีกว่าในการหาความได้เปรียบเสียเปรียบในการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ แต่ถึงแม้ว่า NEER จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถบ่งบอกความได้เปรียบเสียเปรียบในการ ส่งออกสินค้าและบริการของประเทศได้ดี แต่การแข่งขันของประเทศไม่ได้ขึ้นอยู่กับกับความได้เปรียบเสียเปรียบในอัตราแลกเปลี่ยน หรือ การส่งออกสินค้าและบริการของประเทศเพียงอย่างเดียว ยังต้องขึ้นอยู่กับ ราคาสินค้า เงินเฟ้อของแต่ละประเทศด้วย ดังนั้น ดัชนี NEER จึงควรใช้ควบคู่ไปกับ REER มาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

หากใครอยากเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นแนะนำให้อ่านบทความ “ออมดอลล่าห์ช่วยชาติกองทุนรวมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย” ที่มีทั้งหมด 5 ตอน เนื้อหาจะช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับดัชนีค่าเงินบาทและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
ตอนที่ 1 : ค่าเงินบาทเท่าไหร่ เสือตัวที่ห้าถึงจะกลับมา
ตอนที่ 2 : โจมตีค่าเงินอย่างเสรี สงครามแบบใหม่ที่ไทยต้องเผชิญ
ตอนที่ 3 : แบงก์ชาติรบอย่างโดดเดี่ยว ต่างชาติจึงลำพอง..!
ตอนที่ 4 : ฟื้นฟูเสถียรภาพตลาดเงิน ตลาดทุนไทย กองทุนออมดอลลาร์ช่วยชาติ
ตอนที่ 5 : เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว เงินบาทแข็งร้ายแรงกว่าที่คิด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

โทร 02 – 437 – 1588

Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่ 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

WealthMagik – ลงทุนง่ายๆ แค่ปลายนิ้ว

โทร 02 – 437 – 1588

Line : @WealthMagik หรือ คลิกที่นี่