Thailand Web Stat

SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 7 กรกฎาคม 2566

📈Market update📈

📍 Major Equity Indices:

S&P500-0.79%,

NASDAQ-0.82%,

STOXX600-2.34%,

Nikkei225-1.70%,

HSCEI-3.41%,

CSI300-0.67%,

KOSPI-0.88%,

NIFTY50+0.51%,

SET-1.22%,

VNINDEX-0.74%

📍 Sector Return: Consumer Staples-XLP(-0.25%), Technology-XLK(-0.27%), Utilities-XLU(-1.21%), Consumer Discretionary-XLY(-1.61%), Energy-XLE(-2.25%)

📍 USBY2Y 4.98%,USBY10Y 4.03%, WTI $71.80/bbl, Gold $1,910.90/oz, DXY 103.17

📍 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงถึงแม้ตัวเลขชี้นำเศรษฐกิจและตัวเลขแรงงานจะออกมาดีกว่าคาด แต่กลับสร้างความกังวลให้นักลงทุนว่า Fed อาจกลับมาขึ้นดอกเบี้ยและดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเกินไปจนนำไปสู่เศรษฐกิจถดถอยในท้ายที่สุด

📍 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการเดือนมิ.ย. สหรัฐฯ (ISM Non-Manu.) ออกมาดีกว่าคาดและเดือนก่อนหน้า (53.9 vs 51.0 vs 50.3) บ่งชี้ภาคบริการยังคงขยายตัวได้ดี

📍 การจ้างงานนอกภาคเกษตร ADP Nonfarm Employment เดือนมิ.ย. ออกมาดีกว่าคาดและเดือนก่อนหน้ามาก (497k vs 228k vs 267k) แต่ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ออกมาสูงกว่าคาดเล็กน้อยและเดือนก่อนหน้า (248k vs 245k vs 236k) และการเปิดรับสมัครตำแหน่งงานใหม่เดือนพ.ค.  (JOLTs Job Openings) ออกมาตํ่ากว่าคาดและเดือนก่อน (9.82M vs 9.94M vs 10.32M)

📍 ตัวเลขฝั่งตลาดแรงงานออกมาดีแย่สลับกันไป ไม่ได้บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันขนาดนั้น แนะนำติดตามตัวเลขในคืนนี้ที่จะมีรายงานตัวเลขแรงงานสำคัญอย่าง การจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ, ตัวเลขอัตราการว่างงานสหรัฐฯ และตัวเลขค่าจ้างแรงงาน Average hourly earnings ที่จะทำให้เห็นภาพตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชัดเจนขึ้น

📍 ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงแรงสู่ระดับตํ่าสุดในรอบ 3 เดือน จาก sentiment ลบตามฝั่งสหรัฐฯ และการปรับตัวขึ้นของ Bond Yield 2 ปีเยอรมันสู่ระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 กดดันหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีของยุโรป ทั้งนี้ตลาดไม่ได้รับแรงหนุนจากยอดสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันที่ดีกว่าคาดและเดือนก่อนหน้ามาก (6.4% vs 1.2% vs 0.2%MoM)

📍 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวลงเป็นส่วนใหญ่จากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่า ตลาดหุ้นจีนฮ่องกงปรับตัวลงแรงกว่าภูมิภาคหลังตัวเลขเศรษฐกิจตํ่ากว่าคาดต่อเนื่อง เพิ่มมุมมองและ sentiment เชิงลบของนักลงทุนต่างชาติ

📍 Goldman Sachs ปรับลดคำแนะนำในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของจีน โดยมีการลดคำแนะนำ Agricultural Bank of China จาก Neutral เป็น Sell, Industrial and Commercial Bank of China (ICBC) และ Industrial Bank ถูกปรับลงจาก Buy เป็น Sell จากความกังวลต่อการที่มี exposure ในหนี้ของรัฐบาลท้องถิ่นและความเสี่ยงที่กำไรจะชะลอตัวลงต่อ ส่งผลกดดันต่อกลุ่มหุ้นดังกล่าวและตลาดหุ้นจีนโดยรวม

📍 เรามีมุมมองเป็นกลางต่อตลาดหุ้นจีนในระยะสั้น โดย sentiment ลบจากนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังทยอยปรับตัวลงจะเป็นปัจจัยกดดันสำคัญแต่หากภาครัฐเริ่มทยอยออกนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ตลาดหุ้นจีนก็มีโอกาสกลับมาเด้งแรงได้เช่นกัน ทั้งนี้เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีนในระยะกลาง-ยาว จากระดับมูลค่าที่ถูกกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตและประเทศหลักอื่นๆ ขณะที่ปัจจัยลบคาดว่าสะท้อนเข้าไปในราคาหุ้นมากพอสมควรแล้ว

📍 บริษัท Foxconn ผู้รับผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นผู้ประกอบ iPhone เจ้าหลัก แถลงว่ายอดขายในไตรมาสสองของบริษัทคาดว่าจะลดลงราว 14%YoY จากฐานสูงเมื่อปีก่อน แต่คาดว่าครึ่งปีหลังจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นซึ่งจะมี peak season รออยู่ด้วย ทั้งนี้บริษัทมีกำหนดรายงานงบอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ส.ค.

📍 ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทรายใหญ่ที่ให้ outlook เกี่ยวกับธุรกิจสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง สอดคลัองกับมุมมองของเราว่ามีโอกาสสูงที่รอบวัฏจักร Semiconductor จะถึงจุดตํ่าสุดในไตรมาสสองที่ผ่านมาและจะเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง

 

Outlook & Implication

📌ตลาดหุ้นกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว🌟เรามองจังหวะที่ตลาดปรับย่อตัวลงมาเป็นโอกาสทยอยแบ่งไม้สะสมในกลุ่มหุ้นคุณภาพ (SCBGQUAL) และกลุ่มหุ้นเทคโนโลยี (SCBNDQ/ SCBDIGI) ที่คาดว่าจะ outperform ในสภาวะดอกเบี้ยสูงค้างยาวและเศรษฐกิจอยู่ในช่วงปลายวัฏจักรยังไม่ถดถอย

📌กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวและมีการเติบโตที่น่าสนใจในระยะกลาง-ยาว 🌟1) SCBTRAVEL กองทุนที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนและช่วง High season การท่องเที่ยวในฝั่งตะวันตกคาดช่วยหนุนการเติบโตเชิงฤดูกาล 🌟2) SCBEV  กองทุนที่ได้ประโยชน์จากมาตรการสนับสนุน EV รอบใหม่ของจีนและ Inflation Reduction Act ของสหรัฐฯ ที่ยังดำรงอยู่ต่อไปหลังผ่านการเพิ่มเพดานหนี้

 

แหล่งที่มา : SCBAM

แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก