Thailand Web Stat

SCBAM : Morning Update ประจำวันที่ 29 มีนาคม 2567

🟣Morning Update by SCBAM

📊 Major Equity Indices: S&P500+0.11%, NASDAQ-0.12%, Russell2000+0.48%

STOXX600+0.18%, Nikkei225-1.46%, HSCEI+1.44%, CSI300+0.52%, KOSPI-0.34%, NIFTY+0.92%, SET-0.76%, VNINDEX+0.55%, TH Reits+0.05%, SG Reits+0.16%

📊 Sector Return: Energy-XLE(+1.08%), Utilities-XLU(+0.69%), Real Estate-XLRE(+0.64%), Communication Services-XLC(-0.16%), Technology-XLK(-0.22%), Consumer Discretionary-XLY(-0.31%),

📊 USBY2Y 4.62%, USBY10Y 4.20%, WTI $83.17/bbl, Gold $2,229.87/oz, DXY 104.55

📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทรงตัวก่อนวันหยุด Good Friday โดยกลุ่มหุ้นขนาดเล็กยังปรับขึ้นโดดเด่นกว่าตลาดรวมต่อเนื่อง นักลงทุนรอการรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) คืนนี้

📰 สหรัฐฯ รายงาน GDP4Q23 ครั้งสุดท้ายออกมาที่ 3.4% สูงกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และ 2 ที่ระดับ 3.3% และ 3.2% ตามลำดับ และสูงกว่าตลาดคาดที่ระดับ 3.2% ได้แรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและรัฐบาล รวมทั้งการลงทุนภาคธุรกิจ

📰 Initial Jobless Claims ยังต่ำกว่าคาดและรอบก่อน (210k vs 212k vs 212k) สะท้อนภาพคนตกงานใหม่น้อยกว่าคาด แต่ตัวเลข Continuing Jobless Claims สูงกว่าคาดและรอบก่อน (1,819k vs 1,815k vs 1,795k)

บ่งชี้คนตกงานสะสมเพิ่มขึ้นกว่าคาดเล็กน้อย ทำให้ตลาดแรงงานโดยรวมไม่ถึงขั้นดีแต่ก็ไม่ได้แย่เช่นกัน

⏭️ ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังทยอยออกมาขยายตัวดีต่อเนื่อง เพิ่มโอกาสที่จะขยายตัวต่อจากปีก่อน (No Landing) ซึ่งช่วยหนุนกลุ่มหุ้นขนาดกลางขนาดเล็กที่อ่อนไหวไปกับแนวโน้มเศรษฐกิจมากกว่ากลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ ทั้งนี้ติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ (PCE) หากออกมาต่ำหรือตามคาด อาจช่วยหนุนกลุ่มหุ้นขนาดกลางเล็กปรับตัวโดดเด่นกว่าตลาดรวมต่อไป

📰 ตลาดหุ้นเอเชียเมื่อวานปรับตัวบวกลบสลับกันไป ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลงแรงกว่าภูมิภาค ขณะที่ตลาดหุ้นจีนฮ่องกงฟื้นตัวเด่นกว่าตลาดรวม

📰 รายงานสรุปความเห็นของคณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ Summary of Opinion) ได้แสดงความเห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่ได้อยู่ในสถานะที่ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผู้ว่าการ BOJ กล่าวว่าการกลับทิศนโยบายสะท้อนให้เห็นว่า BOJ มีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

⏭️ รายงานข้างต้นถือเป็นการยืนยันความคาดหวังของนักลงทุนที่เชื่อว่าการกลับทิศนโยบายของญี่ปุ่นอาจไม่ได้เข้มงวดต่อเนื่องเหมือนธนาคารกลางอื่นๆ และยังเป็นการบ่งชี้ถึงความมั่นใจของ BOJ ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถหลุดจากสภาวะเงินฝืด/เงินเฟ้อต่ำยาวนานได้สำเร็จ ทั้งนี้เรามีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่นระยะ 3-6 เดือน อาศัยจังหวะตลาดปรับย่อตัวในการทยอยสะสมลงทุน

📰 ตลาดหุ้นจีนปรับตัวบวกหลังได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่ารัฐบาลจีนจะออกมาตรการเชิงรุกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่า มอร์นิง รายงานว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวกับบรรดาผู้นำด้านการเงินของจีนว่าควรใช้เครื่องมือด้านนโยบายการเงินเชิงรุกซึ่งรวมถึงการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

⏭️ ถือเป็นข่าวเชิงบวกแต่เราขอติดตาม action ที่จะเกิดขึ้นจริงก่อนถึงอาจพิจารณาปรับมุมมองการลงทุน ทั้งนี้ติดตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Caixin PMI) ทั้งภาคการผลิตและบริการเดือนมี.ค.ของจีนที่จะทยอยออกมาสัปดาห์หน้า ถ้าออกมาดีกว่าคาดอาจช่วยหนุน sentiment บวกต่อตลาดหุ้นเพิ่มเติม

🔰 Outlook & Implication

✅️ สำหรับตลาดหุ้นเรามีมุมมองเชิงบวกต่อภาพการลงทุนระยะ 3 เดือนข้างหน้า แต่หลังจบช่วงการประกาศงบ นักลงทุนอาจหันไปให้ความสำคัญต่อปัจจัยมหภาคมากขึ้น ทั้งนี้ผลการประชุม Fed ที่ออกมาผ่อนคลายมากกว่าคาดอาจหนุนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นต่อไปได้ แต่การปรับตัวขึ้นโดยไม่หยุดพักสร้างฐานเลยจะทำให้ตลาดเปราะบางและอ่อนไหวต่อข่าวร้ายมากขึ้นในระยะข้างหน้า สรุปคำแนะนำ ถือลงทุนต่อได้และรอจังหวะเข้าลงทุนเพิ่มหากปรับย่อ

✅️ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ดัชนี KOSPI ปรับตัวขึ้นทะลุแนวต้านที่ 2,690 จุด ส่งผลต่อภาพทางเทคนิคดูดีมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานสนับสนุนจากการฟื้นตัวของ Semiconductor Cycle และ Value Up program ที่คาดว่าจะช่วยปลดล็อคมูลค่าของบริษัทในตลาดเหมือนตลาดหุ้นญี่ปุ่น ประกอบกับระดับมูลค่าที่ไม่แพง เราจึงแนะนำลงทุนหุ้นเกาหลีใต้ผ่านกองทุน SCBKEQTG

✅️ สำหรับสินทรัพย์ที่มีความอ่อนไหวต่อแนวโน้มดอกเบี้ยอย่าง Bonds และ REITs เราเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น หลังนักลงทุนเริ่มปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยในปีนี้มาใกล้เคียงกับมุมมองของ Fed แล้วดังนั้นจึงเป็นจังหวะทยอยสะสมหนึ่งในธีมหลักของเรา “Attractive Yield Plays” กองทุนแนะนำ SCBDBOND (กองตราสารหนี้ในประเทศ), SCBINC (กองตราสารหนี้โลก) และ SCBPINA (กอง REITs ไทยและสิงคโปร์)

 

แหล่งที่มา : SCBAM

แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก