Morning Update by SCBAM (16/5/2025)
✅ Market update ✅
📊 Major Equity Indices: S&P500+0.41%, NASDAQ-0.18%, Russell2000+0.52%
STOXX600+0.56%, Nikkei225-0.98%, HSCEI-0.97%, CSI300-0.91%, KOSPI-0.73%, NIFTY+1.60%, SET-1.83%, VNINDEX+0.26%, TH Reits-0.83%, SG Reits-0.56%, Global REITs+1.35%
📊 Sector Return: Utilities-XLU(+2.13%), Consumer Staples-XLP(+2.05%), Real Estate-XLRE(+1.84%), Communication Services-XLC(+0.40%), Technology-XLK(+0.14%), Consumer Discretionary-XLY(-0.22%)
📊 USBY2Y 3.96%, USBY10Y 4.43%, WTI $61.62/bbl (-2.4%), Gold 3,240.1/oz(+2.0%), DXY 100.88
📰 ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวบวกขึ้นเล็กน้อย ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญล่าสุดช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อเร่งตัว
📰 US Retail Sales เดือนเม.ย. ดีกว่าคาดเล็กน้อยแต่ชะลอลงจากเดือนก่อน (+0.1% vs +0.0% vs +1.7%MoM) ส่วน Core Retail Sales (ไม่รวมยานยนต์, น้ำมัน, วัสดุก่อสร้าง และบริการอาหาร) เดือนเม.ย. ต่ำกว่าคาดและเดือนก่อน (+0.1% vs +0.3% vs +0.8%MoM) ขณะที่ US Industrial Production เดือนเม.ย. ออกมาต่ำกว่าคาดแต่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อน (+0.0% vs +0.2% vs -0.3%MoM)
▶️ ทั้ง Retail Sales และ Industrial Production ในเดือนเม.ย.แสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะในภาคการผลิตและการที่ผู้บริโภคเร่งซื้อสินค้าก่อนการขึ้นภาษีในเดือนมี.ค. ส่งผลให้การใช้จ่ายในเดือนเม.ย.ลดลง โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยและยานยนต์ แต่โดยรวมถือว่ายังไม่ได้ดูน่ากังวลมากนักและเป็นการชะลอหลังจากเร่งการบริโภคไปก่อนหน้า แนะนำติดตามชุดข้อมูลในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะเป็นตัวช่วยยืนยันว่าแนวโน้มเศรษฐกิจหลังได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีจะชะลอตัวลงมากน้อยแค่ไหน
📰 แบบจำลอง GDPNow ล่าสุด (15/05/25) คงคาดการณ์ GDP2Q25 สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.3% QoQ เป็นระดับ 2.5%QoQ สะท้อนถึงโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ดูดีขึ้น ช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
📰 ดัชนี PPI ของสหรัฐฯ เดือนเม.ย. ออกมาต่ำกว่าคาดและเดือนก่อนทั้งเทียบรายเดือน (-0.5% vs +0.2% vs +0.0%MoM) และเทียบรายปี (+2.4% vs +2.5% vs +3.4%YoY) ซึ่งอาจชี้นำแนวโน้มดัชนี PCE เดือนเม.ย.ว่าจะชะลอตัวลงเช่นกัน
📰 Initial Jobless Claims ออกมาตามคาดและเท่ากับรอบก่อน (229K vs 229K vs 229K) ขณะที่ Continuing Jobless Claims ต่ำกว่าคาดแต่สูงกว่ารอบก่อนเล็กน้อย (1,881K vs 1,890K vs 1,872K) ไม่ได้บ่งชี้ตลาดแรงงานที่ชัดเจนมากนัก
▶️ ดัชนีเงินเฟ้อเดือนเม.ย.ที่ดูชะลอตัวลง อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ Fed มั่นใจว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ เราคาดว่าดัชนีเงินเฟ้อในอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะเริ่มมีน้ำหนักมากพอต่อการประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อ หลังจากได้รับผลกระทบทางภาษี รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงินในระยะถัดไป
📰 Walmart รายงานยอดขายใกล้เคียงตลาดคาดและกำไรต่อหุ้นดีกว่าคาด ทางบริษัทไม่ได้ให้ Guidance สำหรับ 2Q25 ท่ามกลางความไม่แน่นอนต่อนโยบายการค้าและภาษี ทางผู้บริหารแสดงความเห็นว่าระดับภาษีในปัจจุบันยังคงสูงและส่งผลกระทบต่อต้นทุนของบริษัท ทำให้น่าจะเริ่มเห็นการปรับราคาสินค้าหลายรายการขึ้นภายในเดือนนี้ ขณะที่ธุรกิจ E-Commerce เริ่มทำกำไรได้เป็นครั้งแรก บริษัทสังเกตว่าผู้บริโภคยังคงให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าและความสะดวกสบาย โดยเฉพาะในกลุ่มรายได้สูงที่มีการใช้บริการ E-Commerce
▶️ งบข้างต้น ส่งสัญญาณเตือนว่าเงินเฟ้อโดยเฉพาะในฝั่งสินค้าอาจเริ่มเร่งตัวขึ้นในเดือนพ.ค. จากผลกระทบของการขึ้นภาษี
📰 Alibaba งบต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ทั้งยอดขายและกำไร จากธุรกิจด้าน Logistic ได้แก่ Cainiao มีรายได้ลดลง 12% จากการปรับโครงสร้างและความพยายามในการผสาน Logistic เข้ากับธุรกิจ E-commerce ของบริษัท แต่กลุ่มธุรกิจ Cloud Intelligence มีรายได้เพิ่มขึ้น +18%YoY ได้แรงหนุนจากความต้องการที่แข็งแกร่งในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI นอกจากนี้ บริษัทยังคงมุ่งเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI และ Cloud อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและการเติบโตระยะยาวโดยประกาศแผนลงทุนราว 53 พันล้านเหรียญฯ ในระยะ 3 ปีข้างหน้า
🔰Outlook & Implication
⏩️ ระยะสั้น ตลาดหุ้นยังอยู่ในสภาวะ “Risk On” ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญล่าสุดที่ออกมาช่วยลดความกังวลเศรษฐกิจถดถอยและเงินเฟ้อเร่งตัว แต่การปรับตัวขึ้นมาเร็วและแรง อาจเพิ่มความอ่อนไหวต่อข่าวร้ายมากกว่าข่าวดีในอนาคตเช่นกัน
▶️ แนะนำกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งในประเทศ (SCBFP/SCBDBOND/SCBSFFPLUS) และต่างประเทศ (SCBINCA) เพื่อรักษาสภาพคล่อง และรอจังหวะเพิ่มน้ำหนักหุ้นเมื่อความผันผวนลดลง
▶️ ส่วนกองทุนหุ้นต่างประเทศ ยังคงเน้นกลุ่มที่คาดว่า จะมีความผันผวนน้อยกว่าภาวะโดยรวม เช่น หุ้นโลกเชิงคุณภาพ (SCBGQUAL(A)) และ Low Volatility (SCBLEQA) เป็นต้น
▶️ สำหรับดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ เช่น S&P 500 (SCBS&P500A) และ NASDAQ 100 (SCBNDQ(A)) มีการฟื้นตัวกลับที่เร็วและแรง แนะนำให้รอสะสมในจังหวะที่ตลาดย่อตัวอีกครั้ง
แหล่งที่มา : SCBAM
แหล่งข้อมูล : บล.เว็ลธ์ เมจิก